ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ งานพัฒนาระบบคุณภาพองค์กร ส่วนส่งเสริมวิชาการ ฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล ชั้น 2 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี    , วิสัยทัศน์ : สถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นที่พึ่งของสังคม   ,     ค่านิยม : EASI : E:Excellence, A:Accountability, S:Self-Good Governance, I: Innovation
สัปดาห์ที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
(ลงประกาศวันที่ 18 ก.พ. 64)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
ผู้เข้าชมเมื่อวานนี้
:
39
ผู้เข้าชมวันนี้
:
1
ผู้เข้าชมสัปดาห์นี้
:
196
ผู้เข้าชมเดือนนี้
:
136
ผู้เข้าชมทั้งหมด
:
63580
 
 
 
เริ่มนับวันที่ 22 กรกฏาคม 2551
    ประวัติความเป็นมา QA มทส.

  1. ปีการศึกษา 2541 : มหาวิทยาลัยได้จัดทำประกันคุณภาพการศึกษาโดยอิงกับภารกิจด้านการจัดการศึกษา ในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก ประกอบด้วย
    13 ปัจจัย 48 ตัวชี้วัด


  2. ปีการศึกษา 2547 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวชี้วัดโดยเพิ่มภารกิจการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย 13 ปัจจัย 37 ตัวชี้วัด


  3. ปีการศึกษา 2549 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับ
    ตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ในการประเมินคุณภาพการศึกษา รอบที่ 2
    (ปีการศึกษา 2548) ประกอบด้วย
    11 ปัจจัย 47 ตัวชี้วัด


  4. ปีการศึกษา 2550 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวบ่งชี้ โดยใช้ตัวบ่งชี้
    ตามแนวทางการพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้
    ยกเว้นตัวบ่งชี้เฉพาะของกลุ่มผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม
    และกลุ่มผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม
    (จำนวน 41 ตัวบ่งชี้)
    และผนวกรวมตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 
    รวมองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ 46 ตัวบ่งชี้



  5. ปีการศึกษา 2551 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวบ่งชี้ โดยใช้ตัวบ่งชี้
    ตามแนวทางการพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 41 ตัวบ่งชี้ และผนวกรวมตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย จำนวน 9 ตัวบ่งชี้
    (5 ตัวบ่งชี้เดิม + 4 ตัวบ่งชี้ที่ปรับใหม่) โดยมหาวิทยาลัยได้เพิ่ม
    ตัวบ่งชี้ตามภารกิจการปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี
    จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมด 10 องค์ประกอบ 50 ตัวบ่งชี้


  6. ปีการศึกษา 2552 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวบ่งชี้ โดยใช้ตัวบ่งชี้
    ตามแนวทางการพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 41 ตัวบ่งชี้
    โดย สกอ. เพิ่มตัวบ่งชี้ตามนโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี (3D)”
    จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และผนวกรวมตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย
    จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมด
    11 องค์ประกอบ  52 ตัวบ่งชี้


  7. ปีการศึกษา 2553 : มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวบ่งชี้ โดยใช้ตัวบ่งชี้
    ตามแนวทางการพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้  
    ตัวบ่งชี้ตามนโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี (3D)”
    จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และผนวกรวมตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย
    จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ รวมทั้งหมด 11 องค์ประกอบ 34 ตัวบ่งชี้
  8.  

  9. ปีการศึกษา 2554 : มหาวิทยาลัยใช้ตัวบ่งชี้ตามแนวทาง
    การพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้
    ซึ่งเป็น input process และตัวบ่งชี้ของ สมศ. ทุกตัวบ่งชี้
    จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็น output/outcome เพื่อให้ครอบคลุม
    input process และ output/outcome นอกจากนี้
    ยังมีตัวบ่งชี้ตามนโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี (3D)”
    จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
    รวมทั้งหมด  11 องค์ประกอบ 51 ตัวบ่งชี้
  10.  

  11. ปีการศึกษา 2556 : มหาวิทยาลัยใช้ตัวบ่งชี้ตามแนวทาง
    การพัฒนาของ สกอ. ทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็น
    input process และตัวบ่งชี้ของ สมศ. ทุกตัวบ่งชี้
    จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเป็น output/outcome เพื่อให้ครอบคลุม
    input process และ output/outcome และตัวบ่งชี้
    ของมหาวิทยาลัย จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
    รวมทั้งหมด 10 องค์ประกอบ 49 ตัวบ่งชี้

    หมายเหตุ
    : ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป ผลการดำเนินงาน
    ในองค์ประกอบตามนโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี (3D)”
    ไม่ต้องนำมารายงานใน SAR (แหล่งข้อมูล : สกอ.)


  12. ปีการศึกษา 2557 : มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามแนวทาง
    การพัฒนาของ สกอ. รอบใหม่ พ.ศ. 2557 ทุกระดับและทุกตัวบ่งชี้ โดยรวมตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัยอีก 8 ตัวบ่งชี้ ทั้งระดับสำนักวิชา
    และระดับสถาบัน  ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
    1) ระดับหลักสูตร  6 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้
    2) ระดับสำนักวิชา และ
    3) ระดับสถาบัน 6 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น
        - ตัวบ่งชี้ของ สกอ.  5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้
        - ตัวบ่งชี้ของ มทส.  1 องค์ประกอบ 8 ตัวบ่งชี้


  13. ปีการศึกษา 2558 : มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตาม
    ระบบ CUPT QA มาใช้แทนระบบ IQA ของ สกอ. ทั้งระดับหลักสูตร
    ระดับสำนักวิชา และระดับสถาบัน ดังนี้



    (สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ 1/2559
      วันที่ 20 ก.พ. 2559 มีมติอนุมัติให้มหาวิทยาลัยดำเนินการ
      นำระบบ CUPT QA มาใช้แทนระบบ IQA ของ สกอ.
      ทั้งระดับหลักสูตร ระดับสำนักวิชา และระดับสถาบัน
      => ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ CUPT QA มทส.<คลิก>
           และคู่มือ CUPT QA ปีการศึกษา 2558-2560 <คลิก>)

    ทั้งนี้ มทส. ได้แจ้งให้คณะกรรมการคุณภาพภายใน
    ระดับอุดมศึกษา (คปภ.) ได้รับทราบข้อมูลว่า
    มทส. ดำเนินการโดยใช้ระบบ CUPT QA
    ในการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2558
    ทั้งระดับหลักสูตร ระดับสำนักวิชา และระดับสถาบัน
    (ตามหนังสือที่ ศธ 5601/675 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2559)
  14. ปีการศึกษา 2559 : มหาวิทยาลัยดำเนินการตามระบบ CUPT QA
    ทั้งระดับหลักสูตร ระดับสำนักวิชา และระดับสถาบัน ดังนี้


                                <<คลิกดูภาพใหญ่>>

    ( สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ 2/2560
      วันที่ 25 มี.ค. 2560 มีมติดังนี้
      1) อนุมัติการประเมินคุณภาพการศึกษาตามระบบ CUPT QA
         ในการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
         จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่
      2) การประเมินคุณภาพของหน่วยงานสนับสนุนให้ใช้การประเมิน
          คุณภาพและจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ตาม
          แนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น หรือหน่วยงานสามารถเลือก
          ใช้ระบบคุณภาพอื่นที่เป็นมาตรฐานและเป็นการพัฒนาคุณภาพ
          ทั่วทั้งองค์กรที่สะท้อนการขับเคลื่อนพันธกิจ และวิสัยทัศน์ของ
          มหาวิทยาลัย และจัดทำรายงานตามระบบคุณภาพดังกล่าว
          โดยหน่วยงานต้องนำเสนอรายละเอียดของระบบบริหารคุณภาพ
          ที่เลือกใช้เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการประจำศูนย์ /
          สถาบัน และแจ้งสภาวิชาการทราบ)
          13. ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป : มหาวิทยาลัยดำเนินการตาม
                ระบบ CUPT QA 2 ทั้งระดับหลักสูตร ระดับสำนักวิชา
                และระดับสถาบัน ดังนี้               


                            <<คลิกดูภาพใหญ่>>


     สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ 3/2561
     วันที่ 26 พ.ค. 2561 วาระที่ 3.3 เอกสารมติการประชุม
<<คลิก>>

   ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

  1. มหาวิทยาลัยควรเชื่อมโยงให้เห็นถึงระบบ QA ที่ใช้กับคุณภาพของบัณฑิต มทส.
  2. มหาวิทยาลัยควรบริหารจัดการมิให้เกิดภาระด้านงานเอกสาร
    จากการนำระบบ QA มาใช้ ทั้งนี้ อาจพิจารณานำ IT มาใช้ในการ
    ดำเนินงาน QA ให้มากขึ้น
  3. มหาวิทยาลัยควรสื่อสารเกี่ยวกับระบบ QA ที่จะนำมาใช้ให้บุคลากร
    เข้าใจ และรับไปสู่การปฏิบัติจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

   มติที่ประชุม 
     
1. อนุมัติการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
          (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) และ
         เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)
         มาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560
         ดังนี้
         1) นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
             (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx)
             มาใช้ในระดับสำนักวิชา และระดับสถาบัน โดยใช้เกณฑ์ AUN-QA
             ในระดับหลักสูตร
        2)  นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)
             มาใช้ในหน่วยงานสนับสนุน (ศูนย์/สถาบัน/หน่วยงานสำนักงาน
             อธิการบดี)
     2. ให้มหาวิทยาลัยรับข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาดำเนินการ
         ต่อไป
               

«กรกฎาคม 2568»
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
2930
12