ราคามันสำปะหลัง
ราคาหัวมันสด/มันเส้น (นครราชสีมา) 
ราคามันเส้น/โกดังส่งออก (อยุธยา) 
ราคามันเส้น (กรมการค้าภายใน)
การส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด (สภาหอการค้าฯ) 
		
		
ชื่อ Admin

รหัสผ่าน :


 
 
 
 
 
        ความเป็นมา
        โครงสร้างการบริหาร
        ที่ตั้งองค์กร
        บุคลากร



ความเป็นมา        
          « หลักการและเหตุผล
          « วิสัยทัศน์
          « พันธกิจ
          « ยุทธศาสตร์
          « เป้าประสงค์
          « ตัวชี้วัด
          « แผนปฏิบัติการและงบประมาณ


« หลักการและเหตุผล

  1. จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ปลูกและผลผลิตมันสำปะหลังได้มากที่สุดในประเทศ

  2. มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมัน อาหารสัตว์ และจะมีความต้องการ สำหรับการผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานเริ่มเปลี่ยนทิศทางจาก Fossil fuel-based economy เป็น biofuel economy

  3. แป้งจากมันสำปะหลังมีศักยภาพสูง ต้นทุนต่ำในการแปรรูปเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า

  4. ด้วยความจำเป็นของประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต้องการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง และประสบการณ์ของคณาจารย์ของ มทส. ในงานวิจัยและพัฒนาด้านนี้ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ในการประชุมครั้งที่ 7/2549 วันที่ 23 ธันวาคม 2549 จึงเห็นชอบจัดตั้งศูนย์วิจัยมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์

  5. สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ 2/2551 วันที่ 17 พฤษภาคม 2551 มีข้อเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยเร่งดำเนินการ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์

« วิสัยทัศน์

"เป็นผู้นำด้านการเรียนการสอน การวิจัย พัฒนา
และถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง
และผลิตภัณฑ์ จากมันสำปะหลังอย่างครบวงจร"

« พันธกิจ
  1. เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังอย่างครบวงจร ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิต การปลูก การจัดการ การเก็บเกี่ยว การแปรรูปมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พลาสติกชีวภาพ เอทานอล ก๊าซชีวภาพ

  2. สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

  3. สนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง โดยเฉพาะเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ทำให้เกษตรกรชาวไร่ มีความรู้ มีทางเลือก มีรายได้ มีคุรภาพชีวิตที่ดี

  4. สนับสนุนให้ผลงานวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพ ในระดับโรงงานนำร่องให้กับภาคอุตสาหกรรม


« ยุทธศาสตร์

     1.  ประสานงานและสร้างเครือข่ายทุกระดับ มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และผู้ประกอบการ ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

     2.  พัฒนาบุคลากร ทีมงาน ศึกษาวิจัย ผ่านการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

     3.  จัดทำแหล่งเรียนรู้ ฐานข้อมูล และบริการข้อมูลมันสำปะหลังในทุกด้านให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง

     4.  ปรับทิศทางงานวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังออกสู่เชิงพาณิชย์โดยเฉพาะ การพัฒนาเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพให้สอดคล้องกับแผนที่นำทางแห่งชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ

     5.  จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนางานวิจัย ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง โดยเฉพาะการทำวิจัยโดยผู้ประกอบการ

 

« เป้าประสงค์

  «« เป้าประสงค์โดยรวม

    1.  มีโครงการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ด้านการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังแบบครบวงจรในทางอุตสาหกรรม เช่น พลาสติกชีวภาพ เอทานอล เป็นต้น

    2.  ผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง

    3.  เกษตรกร เยาวชน ประชาชน และชุมชน สามารถนำผลงานวิจัย เทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม

    4.  ผู้ประกอบการ ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม ได้รับการยกระดับทางเทคโนโลยี ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง

  «« เป้าประสงค์ตามกลุ่มวิจัย

    1.  การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
    2.  การผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
         •  หน่วยศึกษาจุลินทรีย์และการผลิตสารเพื่อใช้ในการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
         •  หน่วยสกัดและทำให้สารบริสุทธิ์
         •  หน่วยออกแบบและพัฒนาโรงงานต้นแบบ
        
•  หน่วยผลิตพอลิเมอร์และขึ้นรูปพลาสติก
         •  หน่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
        
•  หน่วยผลิตก๊าซชีวภาพจากของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต
         •  หน่วยทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

    3.  การผลิตเอทานอลและกระบวนการสกัด
    4.  การพัฒนาสารตั้งต้นสำหรับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ จากวัสดุพลอยได้
         ทางการเกษตร
    5.  การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร
    6.  การพัฒนาฐานข้อมูลมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
    7.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังเป็นอาหารคนและสัตว์


« ตัวชี้วัด

  1. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
  2. จำนวนโครงการวิจัย นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
  3. จำนวนเกษตรกร ชาวไร่ ที่ได้รับประโยชน์ มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
  4. จำนวนผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ หรือสามารถนำไปยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาได้
  5. จำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจากมันสำปะหลังได้รับการยกระดับทางเทคโนโลยี