ราคามันสำปะหลัง
ราคาหัวมันสด/มันเส้น (นครราชสีมา) 
ราคามันเส้น/โกดังส่งออก (อยุธยา) 
ราคามันเส้น (กรมการค้าภายใน)
การส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด (สภาหอการค้าฯ) 
		
		
ชื่อ Admin

รหัสผ่าน :


 
 
 
 
 




รายงานพิเศษเรื่องไบโอเทคนำเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพของไทยเผยแพร่สู่โรงงานแป้งมันฯ
ศุกร์ ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2551



สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ (6 เมษายน 2549)

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพ พร้อมเผยแพร่สู่โรงงานแป้งมันสำปะหลังเพื่อยกมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ

จากเดิมที่โรงงานแป้งมันสำปะหลังต้องประสบปัญหาในการบำบัดน้ำเสียและการสิ้นเปลืองพลังงานจากกระบวนการผลิต ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค จึงผลักดันเทคโนโลยีของคนไทยในการวิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จนสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับโรงงานต้นแบบอย่างโรงงานชลเจริญ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีศักยภาพเดินระบบบำบัดน้ำเสียที่อัตราการไหลของน้ำเสีย 2,200 ลูกบาศก์เมตร / วัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนน้ำมันเตาได้ 100% ของกระบวนการผลิต ทดแทนน้ำมันเตาได้ชั่วโมงละ 350 ลิตร ช่วยประหยัดค่าน้ำมันเตาคิดเป็นมูลค่า 4,900 บาทต่อชั่วโมง หรือ 117,600 บาทต่อวัน

ดร.ประวิช รัตนเพียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าไบโอเทคได้เข้ามาปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียที่โรงงานชลเจริญ เพื่อไม่ให้มีการปล่อยน้ำทิ้งไปสร้างมลพิษสู่ชุมชน และยังนำน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนน้ำมันเตา พร้อมขยายผลจากโรงงานต้นแบบไปสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลังอื่นที่สนใจที่มีอยู่ทั่วประเทศรวม 60 โรงงาน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นพลังงานทดแทนสำหรับอนาคต

ด้าน ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ ผู้อำนวยการไบโอเทค กล่าวว่า การบำบัดน้ำเสียในทางชีววิทยามี 2 แบบ คือแบบใช้อากาศ ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงาน และแบบไม่ใช้อากาศ ซึ่งไบโอเทคได้พัฒนาระบบบำบัดแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เพื่อให้จุลินทรีย์เกาะตาข่ายไนล่อนและเปลี่ยนน้ำเสียจากแป้งให้เป็นก๊าซชีวภาพ เพื่อนำกลับมาใช้อบแห้งแป้งแทนการใช้น้ำมันเตา หากโรงงานเดินระบบ 220 วัน จะช่วยประหยัดค่าน้ำมันเตาได้ปีละกว่า 20 ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

ในการนำเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตก๊าซชีวภาพเผยแพร่สู่โรงงานแป้งมันสำปะหลังที่สนใจ ไบโอเทคพร้อมประสานแหล่งทุนในการติดตั้งระบบโดยการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เหมือนเช่นที่นายเม่งจั๊ว แซ่อึ๊ง ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งโรงงานชลเจริญ ที่เชื่อมั่นในเทคโนโลยีของไทย และได้รับการสนับสนุนการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงงานผลิตมันสำปะหลังที่ปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อีกทั้งยังสามารถคืนทุนค่าก่อสร้างได้ภายใน 2-3 ปี พร้อมยกมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยไม่จำต้องพึ่งพาเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศอีกต่อไป