2 รมว. พลังงาน – วิทย์ฯ เยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ มทส. พอใจงานวิจัยสอดรับ Thailand 4.0 ตอบโจทย์สังคม

2 รมว. พลังงาน – วิทย์ฯ  เยี่ยมชมการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ มทส.

พอใจงานวิจัยสอดรับ Thailand 4.0 ตอบโจทย์สังคม

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เยี่ยมชมความคืบหน้าผลการดำเนินงานโครงการนำร่องการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ ร่วมกับ การวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)  อธิการบดี เผยแสดงศักยภาพและความสำเร็จในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี จากการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปแก้ไขปัญหาของสังคมได้จริง ทั้งยังสอดรับกับนโยบายThailand 4.0 การขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยนวัตกรรม ซึ่งได้รับคำชื่นชมและพร้อมจะเป็นต้นแบบต่อไป

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงาน โครงการนำร่องการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ ร่วมกับ การวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้า ของ มทส. ภายใต้แนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะด้วยอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน “MSW 4.0” ที่ได้รับงบประมาณวิจัยและพัฒนาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  

 

โดยภาคเช้า ได้เยี่ยมชมความคืบหน้า ระบบจัดการขยะศูนย์เทศบาลเมืองสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการเทคโนธานี ผู้แทน มทส. นายยงยุทธ ป้อมเอี่ยม นายอำเภอสีคิ้ว  นายสุรินทร์ แสงไทยทวีพร พลังงานจังหวัดนครราชสีมา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  เจ้าหน้าที่ และประชาชน ให้การต้อนรับ  ทั้งนี้เทศบาลเมืองสีคิ้วเป็น 1  ใน 4 ของศูนย์จัดการขยะแบบครบวงจร ในจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลเมืองสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว เทศบาลเมืองเมืองปัก อำเภอปักธงชัย เทศบาลตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด และเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี) ภายใต้โครงการนำร่องการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ ที่นำร่องส่งเสริมสาธิตให้ใช้นวัตกรรมระบบจัดการขยะแบบครบวงจรของ มทส. ในปี 2558  ปัจจุบันศูนย์จัดการขยะภายใต้โครงการฯ ทั้ง 4 ศูนย์นี้ ช่วยบรรเทาแก้ปัญหาขยะโคราชได้กว่า 180 ตัน/วัน  ทั้งนี้ ระบบจัดการขยะศูนย์ ทม. สีคิ้ว รองรับปริมาณขยะจากชุมชนในพื้นที่โดยรอบ บริเวณของเทศบาลเมืองสีคิ้วจำนวน 25 ตันต่อวัน เป็นการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการและสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เกิดรูปแบบการจัดการขยะที่ยั่งยืน โดยมีกระบวนการสำคัญในการน ขยะมูลฝอยมาแปรรูปให้เป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) และน้ำมันไพโรไลซิส (Pyrolysis Oil) กำลังผลิต 5,000 ลิตร/วัน ซึ่งน้ำมันดิบจากขยะนี้จะถูกนำไปกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ต่อไป

ภาคบ่าย ได้เข้าเยี่ยมชมความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่นจากเชื้อเพลิงขยะ  และการวิจัยพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้า ของ มทส. โดยมี  ศ.ดร. สันติ แม้นศิริ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย อาจหาญ ผู้อำนวยการเทคโนธานี มทส.  พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงานให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชม

ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน มทส. ดำเนินการจัดการของเสียและขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการรับขยะมูลฝอยเข้ามาจัดการ โดยปัจจุบัน ศูนย์ มทส. รับขยะมูลฝอยจากทั้งภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงพื้นที่ภายนอกภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลสุรนารี ปริมาณ 20 ตัน/วัน  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับเชื้อเพลิงขยะ (RDF) จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้โครงการนำร่องการจัดการขยะ ชมชนแบบครบวงจรแบบกระจายศูนย์ทั้ง 4 แห่ง มาเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่น ขนาด 1000 kW (1 เมกะวัตต์) เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าใช้ในระบบของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีระบบกลั่นน้ำมันไพโรไลซิสจากพลาสติกขนาด 20,000 ลิตร ซึ่งรองรับน้ำมันไพโรไลซิสจากทั้ง 4 แห่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยใช้การกลั่นลำดับส่วนเพื่อให้ได้น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อใช้ภายในกิจการภายในมหาวิทยาลัยอย่างครบวงจร

โรงไฟฟ้าพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่น โดยใช้เชื้อเพลิงจากขยะขนาด 1,000 kW  (1 เมกะวัตต์)  ของศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน มทส. เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีพลาสมาทางความร้อนชั้นสูงร่วมกับระบบแก๊สซิฟิเคชั่น สามารถควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาให้สูงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการการจัดของเสียได้ดี โดยเทคโนโลยีพลาสมาอาร์ค ซึ่งอาศัยหลักการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ความร้อนกับก๊าซ เช่น ก๊าซออกซิเจน (O2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) และอากาศ (Air)  โดยเมื่อก๊าซได้รับพลังงานและร้อนขึ้น จึงส่งผลให้โมเลกุลขอก๊าซบางส่วนแตกตัว แปรสภาพจากสภาวะก๊าซ ไปสู่สถานะพลาสมา เกิดเป็นพลังงานที่มีอุณหภูมิ สูงมากกว่า 2,000 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมินี้เพียงพอสำหรับใช้ในการ กำจัดขยะมูลฝอย รวมไปถึงขยะติดเชื้อซึ่งมีองค์ประกอบหลายหลาย และมีความแปรปรวน ของคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีสูง ทั้งนี้เมื่อนำเทคโนโลยีพลาสมาอาร์ค มาใช้ร่วมกับระบบการเผาไหม้แบบแก๊สซิฟิเคชั่น ซึ่งเป็นระบบป้อนอากาศเข้าไปเพียงร้อยละ 30 ของความต้องการในปฎิกิริยาสันดาปทำให้ได้ผลผลิตออกมาเป็นก๊าซสังเคราะห์ที่มีคุณภาพดีและเป็นก๊าซที่เผาไหม้ได้ (ก๊าซไฮโดรเจน มีเทน คาร์บอนมอนนอกไซด์) มีค่าความร้อนประมาณ 6-8 เมกะจูล/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์ก๊าซ (Gas Engine Generator Set) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลพลอยได้จากโรงไฟฟ้าพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่น คือถ่านคาร์บอนที่สามารถเพิ่มมูลค่าต่อยอดโดยพัฒนาเป็นวัสดุพิเศษในการผลิตระบบกักเก็บไฟฟ้าได้ต่อไป

การผลิตระบบกักเก็บไฟฟ้าด้วยผงถ่านจากโรงไฟฟ้าพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่น เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะมูลฝอย โดยมีการจัดแสดงในงาน ได้แก่ - ส่วนประกอบของการผลิตระบบกักเก็บไฟฟ้าด้วยผงถ่าน - กระบวนการผลิต ระบบกักเก็บไฟฟ้าด้วยผงถ่าน - แผนผังเครื่องจักรผลิต ระบบกักเก็บไฟฟ้าด้วยผงถ่าน - ตัวอย่างชิ้นงาน ตัวเก็บไฟฟ้าจากผงถ่าน - การพัฒนาและประยุกต์ใช้ ตัวเก็บไฟฟ้าจากผงถ่าน โดยโครงการนี้ถือเป็นการนำงานวิจัยมาต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้จริง และยังผลักดันจนถึงปลายทาง ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ก่อให้เกิดต้นแบบการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขวิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบเศรษฐกิจตามแนวนโยบาย Thailand 4.0

 

ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะ ได้เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของ ความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานจากของเสียและขยะชุมชน ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลาสมาแก๊สซิฟิเคชั่นจากเชื้อเพลิงขยะ  และการวิจัยพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้า ของ มทส. โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รักษาการแทนอธิการบดี มทส.  พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงานให้การต้อนรับ จากนั้นเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน คณะผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ ให้การต้อนรับด้วย 

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ รักษาการแทนอธิการบดี มทส. เปิดเผยว่า การเดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้  เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มทส. ได้แสดงศักยภาพและความสำเร็จในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี จากการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปแก้ไขปัญหาของสังคมได้จริง ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความยั่งยืน รอ  งรับการเติบโตของเมืองและภาคการผลิต รวมถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งยังสอดรับกับนโยบายThailand 4.0 การขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยนวัตกรรม ซึ่งได้รับคำชื่นชมยินดีจากรัฐมนตรีทั้งสองท่าน ซึ่ง มทส. พร้อมจะเป็นต้นแบบและรับใช้สังคมต่อไป

 

ส่วนประชาสัมพันธ์

21 สิงหาคม 2560

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง