หน้าหลัก arrow ระเบียบข้อบังคับ
 
 
ระเบียบข้อบังคับ
เขียนโดย Administrator   
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ว่าด้วยวินัยนักศึกษา
พ.ศ.2536

__________________________________________________

       โดย ที่เห็นเป็นการสมควรมีข้อบังคับเกี่ยวกับวินัยนักศึกษา เพื่อมารยาทและความประพฤติอันดีงามความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักศึกษา และรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
       อาศัยอำนาจตามความมาตรา 16(2) แห่งพระราชบัญญัติหมาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ 61/2536 เมื่อวันที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ. 2536 จึงมีมติให้ตราข้อบังคับ เกี่ยวกับวินัยนักศึกษาดังต่อไปนี้


       หมวดที่ 1
       ข้อความทั่วไป

       ข้อที่ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2536
       ข้อที่ 2 ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากที่ประกาศเป็นต้นไป
       ข้อท 3 ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยนี้
               “มหาวิทยาลัย” หมายถึง ”มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี”
               “อธิการบดี ” หมายถึง ”อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี“
               “นักศึกษา” หมายถึง “นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี”
       ข้อที่ 4 ให้อธิการบดีรักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฎิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้



       หมวดที่ 2
       วินัยนักศึกษา

       ข้อ 5 นักศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
       ข้อ 6 นักศึกษาต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชื่อเสียง และเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย
       ข้อ 7 นักศึกษาต้องประพฤติตนเป็นสุภาพชน ไม่ประพฤติในสิ่งที่อาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ตนเอง บิดา มารดา ผู้ปกครองหรือมหาวิทยาลัย
       ข้อ 8 นักศึกษาต้องปฏิบัติตามหลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย และต้องไม่นำขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยมาปฏิบัติ
       ข้อ 9 นักศึกษาต้องไม่นำสุราหรือของมึนเมาใด ๆ เข้ามาในบริเวณมหาวิทยาลัยและต้องไม่เสพสุราหรือของมึนเมาใด ๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเอง บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือมหาวิทยาลัย
       ข้อ10 นักศึกษาต้องไม่เล่น หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสนับสนุนการพนันใดๆ เป็นอันขาด รวมทั้งไม่เข้าไปในบริเวณหรือสถานที่ที่มีการเล่นการพนันด้วย
       ข้อ11 นักศึกษาต้องเชื่อฟังคำสั่งหรือคำแนะนำตักเตือนของอาจารย์และ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ผู้ปฎิบัติหน้าที่โดยชอบ
       ข้อ12 นักศึกษาต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาได้ทันที เมื่ออาจารย์หรีอเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยตรวจสอบ
       ข้อ13 ให้นักศึกษาอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ในเวลาที่กำหนดเว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นกรณีๆไป
       ข้อ14 นักศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จนมีเรื่องเสียหายถึงผู้อื่นหรือมหาวิทยาลัย
       ข้อ15 นักศึกษาต้องไม่ลัก ยักยอก หรือทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมหาวิทยาลัย
       ข้อ16 นักศึกษาต้องไม่กระทำการทุจริตใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่ มหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง
       ข้อ17 นักศึกษาต้องไม่นำสิ่งผิดกฎหมายเข้ามาในมหาวิทยาลัย หรือมีสิ่งผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง
       ข้อ18 นักศึกษาต้องไม่มีหรือหรือพกพาอาวุธ วัตถุระเบิด หรือสิ่งที่สามารถใช้เป็นอาวุธหรืออาจใช้ต่างอาวุธเมื่ออยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัย
       ข้อ19 นักศึกษาต้องไม่ก่อการหรีอมีส่วนเกี่ยวข้องในการทะเลาะวิวาท กับนักศึกษาด้วยกันหรือกับผู้อื่น หรือกระทำการใดๆอันเป็นการก่อกวนความสงบเรียบร้อย
       ข้อ20 นักศึกษาผุ้ใดเป็นผู้ก่อหรือมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคดีถึง เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจต้องรีบรายงานพฤติกรรมนั้นต่ออาจารย์ที่ปรึกษาหรือส่วนกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยทันที
       ข้อ21 นักศึกษาผู้ใดต้องโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอักระทำโดยประมาทถือว่าเป็นผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
       หมวดที่3
       คณะกรรมการวินัยนักศึกษา

       ข้อ22 ให้มีคณะกรรมการวินัยนักศึกษา ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นกรรมการ อาจารย์ที่ปรึกษาที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า3คน แต่ไม่เกิน 5คน เป็นกรรมการ หัวหน้างานวินัยนักศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่งานวินัยนักศึกษา เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีจำเป็น คณะกรรมการวินัยนักศึกษา อาจขอให้นายกองการบริหารหรือประธานสภานักศึกษาเข้าร่วมในการประชุมของคณะกรรมการวินัยวินัยนักศึกษาด้วยก็ได้
หมวดที่4
โทษฐานผิดวินัย

       ข้อ23 นักศึกษาที่ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับประกาศหรือคำสั่งใดๆของมหาวิทยาลัยให้ถือว่ากระทำผิดวินัย และอาจได้รับโทษสถานใดสถานหนึ่งดังนี้
              (1)ตักเตือนเป็นลายลักาณ์อักษร
              (2)ภาคทัณฑ์
              (3)ให้พักการศึกษา
              (4)ให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
              (5)โทษอื่นๆตามที่มหาลัยเห็นสมควร

หมวดที่5
การสอบสวนและการลงโทษการกระทำผิดวินัย

       ข้อ24 ให้คณะกรรมการวินัยนักศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสอบสวนการกระทำผิดวินัยของนักศึกษา เว้นแต่มหาวิทยาลัยจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่นเป็นกรณีๆไปและเมื่อได้ทำการสอบสวนการกระทำผิดวินัยดังกล่าวแล้วให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาลงโทษนักศึกษาผู้นั้นต่อไป
       ข้อ25 ในการสอบสวนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยและเพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงการกระทำผิดวินัยนั้นให้คณะกรรมการวินัยนักศึกษา ซึ่งเป็นผู้สอบสวนการกระทำผิดวินัย มีอำนาจดังต่อไปนี้
              (1.)เรียกสอบสวนนักศึกษาที่กระทำผิดวินัย หรือผู้ที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิกวินัย
              (2.)เรียกตรวจและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดวินัย
       ข้อ26 ผู้ที่มีอำนาจสั่งลงโทษความผิดทางวินัยนักศึกษาได้แก่ อธิการบดี หรือผู้ซึ่งอธิการบดีมอบหมาย
       ข้อ27 เมื่อได้สั่งลงโทษนักศึกษาผู้ใดแล้ว ให้รีบแจ้งต่อบิดา มารดาหรือผู้ปกครองนักศึกษาผู้นั้นอาจารย์ที่ปรึกษาและมหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณีเพื่อทราบ
ประกาศ ณ วันที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ.2536



                                                                      ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
                                                   ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
                                                                                 พ.ศ. ๒๕๔๕

       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๒) และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบกับมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ /๒๕๔๕ เมื่อวันที่ เดือน ๒๕๔๕ จึงออกข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีไว้ดังต่อไปนี้

       ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า
"ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๕"
       ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
        ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๔
              บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ มติ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
        ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
              "มหาวิทยาลัย"     หมายถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
               "อธิการบดี"        หมายถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
             "นักศึกษา"           หมายถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
       ข้อ ๕ ให้เครื่องแต่งกายของนักศึกษา มี ๓ ประเภทสำหรับใช้แต่งในโอกาส ต่างๆ ดังนี้
              (๑) เครื่องแต่งกายปกติ ใช้สำหรับแต่งในเวลาเรียนปกติ เวลาสอบ และ ติดต่อหรือใช้บริการจาก หน่วยงาน ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
              (๒) เครื่องแต่งกายในงานพิธี ใช้สำหรับแต่งกายในงานราชพิธี รัฐพิธีหรือตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย
              (๓) เครื่องแต่งกายในการปฏิบัติงาน ใช้สำหรับแต่งในห้องทดลองหรือโรงฝึกงานของมหาวิทยาลัย
       ข้อ ๖ เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาชาย ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาว หรือสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอ สำหรับให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า
              (๓) เข็มขัดแบบสุภาพ สีเข้ม
              (๔) รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้น สีดำ หรือน้ำตาล
              (๕) ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า
       ข้อ ๗ เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาหญิง ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
              (๑) เสื้อสีขาว หรือสีอ่อนแบบสุภาพ เนื้อผ้าหนาพอควรไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอ สำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย
              (๒) กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้มหรือกรมท่า เนื้อผ้าหนาพอสมควร ไม่มีลวดลาย ความยาวเสมอเข่าหรือต่ำกว่าเข่า
              (๓) รองเท้าหนังทรงสุภาพ หุ้มส้น สีสุภาพ
        ข้อ ๘ มหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักศึกษาแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบการแต่งกายของกรมการรักษาดินแดนในวันที่มีการเรียนวิชาทหาร
       ข้อ ๙ มหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักศึกษาแต่งกายด้วยชุดปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน ชุดปฎิบัติงานในไร่ สวนฟาร์ม ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีอาหาร ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ และชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีสังคม ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และ ข้อ ๑๙ ในเวลาเรียนปกติและในการใช้บริการจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในวันที่มีการปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน ปฎิบัติงานในไร่ สวน ฟาร์ม ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีอาหาร ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ และปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีสังคม
       ข้อ ๑๐ เครื่องแต่งกายในงานพิธีสำหรับนักศึกษาชาย ให้มีลักษณะดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวไม่มีลวดลาย ปกเสื้อปลายแหลม ผ่าอกตรงโดยตลอด ติดกระดุมสีขาว มีกระเป๋าที่ด้านซ้าย ตัวเสื้อยาวพอเพื่อให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย
              (๒) เนคไทของมหาวิทยาลัย พื้นสีเทา สีเดียวกับกางเกง ปักตรามหาวิทยาลัย
              (๓) กางเกงขายาว ทรงสุภาพ สีเทาเข้ม
              (๔) เข็มขัดหนังสีดำ ความกว้าง 4 เซนติเมตร หัวเข็มขัดมีเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย
              (๕) รองเท้าหนังทรงสุภาพหุ้มส้น สีดำ
              (๖) ถุงเท้าสีดำ
       ข้อ ๑๑ เครื่องแต่งกายในงานพิธีสำหรับนักศึกษาหญิง ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้น ไม่มีลวดลาย ปกเสื้อปลายแหลม ผ่าอกตรงโดยตลอด ติดกระดุมโลหะสัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เนื้อผ้าหนาพอสมควร ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอสำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย
              (๒) เข็มกลัดเสื้อเครื่องหมายมหาวิทยาลัย กลัดเหนือระดับอกด้านซ้าย
              (๓) กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีเทาเข้ม เป็นผ้าฝ้ายเนี้อหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ความยาวปิดเข่า
              (๔) เข็มขัดหนังสีดำ ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร หัวเข็มขัดมีเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย
              (๕) รองเท้าหนังทรงสุภาพหุ้มส้น สีดำ ความสูงไม่เกิน ๓ นิ้ว
       ข้อ ๑๒ ชุดปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคมีและชีววิทยา นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) ให้นักศึกษาสวมชุดปฏิบัติงานทับเครื่องแต่งกายปกติตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙
              (๒) ชุดปฏิบัติงานเป็นเสื้อสีขาว ปกฮาวาย แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมพลาสติกสีขาว ความยาวของเสื้อคลุมเข่า ด้านหน้า ที่อกเสื้อด้านบนซ้าย และที่ด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าไม่มีฝาปิดแห่งละ ๑ ใบ ปักชื่อและนามสกุลเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีเขียวบนอกเสื้อด้านขวาในตำแหน่งที่สวยงาม ด้านหลัง ตัวเสื้อมีจีบหลังพับข้างละ ๓ จีบ ที่เข็มขัดหลังชายเสื้อด้านล่างผ่าทับกันยาวพอประมาณ ด้านข้าง ตะเข็บด้านข้างทั้ง ๒ ข้าง ผ่าตามแนวบริเวณกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงความยาวพอประมาณ
       ข้อ ๑๓ ชุดปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีกรมท่า แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีกรมท่า
              (๓) รองเท้าหนัง ผูกเชือก หัวแข็ง สีดำ
       ข้อ ๑๔ ชุดปฏิบัติงานในไร่ สวน และฟาร์ม นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ผ้าฝ้าย แขนยาว สีฟ้าอ่อน หรือสีสุภาพ ผ่าอกตรงโดยตลอด ไม่มีลวดลาย ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋า ข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษา เป็นภาษาไทยด้วยใหมสีเขียว
              (๒) กางเกงทรงสุภาพ สีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำเงิน น้ำตาล หรือเทาเข้ม
              (๓) รองเท้าผ้าใบ หรือร้องเท้ายาง หรือร้องเท้าบู๊ท ทรงและสีสุภาพ สำหรับสวมใส่ในบริเวณดินเปียกหรือในคอกสัตว์ ถ้าสวมถุงเท้าด้วย ให้ใช้ถุงเท้าสีสุภาพ
       ข้อ ๑๕ ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเขียวดำ แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีกรมท่า
              (๓) รองเท้าหนัง ผูกเชือก หัวแข็ง สีดำ
       ข้อ ๑๖ ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีครีม ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำกรมท่า น้ำตาลหรือเทาเข้ม
              (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ
       ข้อ ๑๗ ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาหาร นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเทากรมท่า ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำตาล หรือเทาเข้ม
              (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ
       ข้อ ๑๘ ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฎิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีแดงเลือดหมูแขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอสมควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาว ด้านล่างข้างซ้ายและขวามีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำตาล หรือเทาเข้ม
              (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ
       ข้อ ๑๙ ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสังคม นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้
              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเขียว ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ
              (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำกรมท่า น้ำตาลหรือเทาเข้ม
              (๓) รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้นสีสุภาพ
       ข้อ ๒๐ ชุดปฎิบัติงานสำหรับการปฎิบัติงานในสถานประกอบการสำหรับนักศึกษาชายและหญิงให้ถือ ปฎิบัติตามที่สถานประกอบการที่นักศึกษาปฎิบัติงานกำหนด ิ
       ข้อ ๒๑ หากนักศึกษาแต่งกายไม่สุภาพ หรือไม่เป็นไปตามข้อบังคับนี้ มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาไม่ให้เข้าเรียน เข้าสอบ หรือรับบริการใดๆ จากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
       ข้อ ๒๒ ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศและข้อกำหนดเพื่อปฎิบัติการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕
คนึง ฦาไชย                     
(ศาสตราจารย์ คนึง ฦาไชย )        
นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เรื่อง ลักษณะเข็มกลัด กระดุม เนคไท และเข็มขัดสำหรับเครื่อง
แต่งกายในงานพิธี
พ.ศ. 2545
------------------------------

       โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดลักษณะของเข็มกลัด กระดุม เนคไท และเข็มขัด สำหรับให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีใช้แต่ประกอบเครื่องแต่งกายในงานพิธี
       อาศัยอำนาจตามความในข้อ 18 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2544 จึงให้ออกประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่องเข็มกลัด กระดุม เนคไท และเข็มขัด สำหรับเครื่องแต่งกายในงานพิธี พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
       1. เข็มกลัด สำหรับติดเสื้อนักศึกษาหญิง มีลักษณะดังนี้ ตัวเข็มกลัดทำด้วยโลหะชุบทอง ระบบไมครอน กว้าง 2.5 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร เป็นเครื่องหมายมหาวิทยาลัยปั๊มนูน พื้นเป็นลายเม็ดทราย และมีเข็มสำหรับกลัด ล็อกได้ติดกับตัวเสื้อ ซ่อนอยู่ด้านหลังตั้งแต่ฐานเข็มกลัดจนถึงกลางภาพท้าวสุรนารี
       2. กระดุม สำหรับติดเสื้อนักศึกษาหญิง มีลักษณะดังนี้ ตัวกระดุมมีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 เซนติเมตร ทำด้วยโลหะชุบทอง ปั๊มนูนตรงกลางมีเครื่องหมายมหาวิทยาลัย ขอบโดยรอบนูนเหนือตัวพื้นเล็กน้อย
       3. เนคไท สำหรับนักศึกษาชายมีลักษณะดังนี้ เนคไททำด้วยผ้าสีเทา สีเดียวกับกางเกงของเครื่องแต่งกายในงานพิธี ขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ปักเครื่องหมายมหาวิทยาลัยโดยไม่มีชื่อมหาวิทยาลัยที่ใต้ภาพ อยู่ในตำแหน่งสูงจากปลายเนคไท 20 เซนติเมตร โดยเครื่องหมายมหาวิทยาลัยมีลักษณะดังนี้
              - ส่วนที่เป็นเส้นโค้ง ฐานของภาพท้าวสุรนารีพร้อมรูปใบไม้ประกอบ ปักด้วยไหมสีเหลืองทอง
              - ส่วนที่เป็นภาพท้าวสุรนารีปักด้วยไหมสีน้ำเงิน - ส่วนที่เป็นเฟืองจักรปักด้วยไหมสีแสด
       4. เข็มขัด สำหรับนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีลักษณะเหมือนกันดังนี้
              สายเข็มขัด ทำด้วยหนังสีดำ กว้าง 4 เซนติเมตร
              หัวเข็มขัด ทำด้วยโลหะสีดำ ลงยา ตอกลายเม็ดทราย ขอบเหนือตัวพื้น 1 มิลลิเมตร ตรงกลางหัวเข็มขัดมีเครื่องหมายมหาวิทยาลัยปั๊มนูนโดยมีลักษณะดังนี้
                      - ส่วนที่เป็นเส้นโค้งกับฐานที่ภาพท้าวสุรนารีและใบไม้ลงสีทอง
                      - ส่วนที่เป็นภาพท้าวสุรนารี ลงสีดำ
                      - ส่วนที่เป็นเฟืองจักร ลงสีส้ม ความสูงลดหลั่นจากตรงกลางลงไป
                      - ส่วนที่เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ลงสีทองแดง
                      - ใต้ส่วนที่เป็นเครื่องหมายมหาวิทยาลัย มีชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษปั๊มนูน “SURANAREE UNIVERSITY OF TECHNOLOGY” ตัวอักษรขนาด 1 x 1.5 มิลลิเมตร


              ทั้งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2545

ทวี เลิศปัญญาวิทยทวี                  
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี    



ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เรื่อง การแต่งกายของนักศึกษา
………………………

       โดยที่มหาวิทยาลัยไม่มีเครื่องแบบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่ได้กำหนดเครื่องแบบงานพิธีไว้ในโอกาสสำคัญ ส่วนเครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับการเข้าพบอาจารย์ ฟังบรรยาย การเรียนปกติ การสอบ การใช้บริการห้องสมุด หรือการติดต่อขอใช้บริการใดๆ จากมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาเป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ เป็นผู้พร้อมทั้งภูมิรู้ ภูมิปัญญา ภูมิธรรม และมีความภูมิฐาน เป็นนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ ดังนั้น ขอให้นักศึกษาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมแก่กาละเทศะ โดยยึดถือข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2544 กล่าวคือ
       เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาชาย ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
              1. เสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อความยาวเพียงพอสำหรับให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย
              2. กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า
              3. เข็มขัดแบบสุภาพ สีเข้ม
              4. ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า
              5. รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้น สีดำหรือน้ำตาล
       เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาหญิง ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
              1. เสื้อสีขาว หรือสีอ่อน แบบสุภาพ เนื้อผ้าหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอสำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย
              2. กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า เนื้อผ้าหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ความยาวเสมอเข่า หรือต่ำกว่าเข่า
              3. รองเท้าหนังทรงสุภาพ หุ้มส้น สีสุภาพ
       การแต่งกายที่ถือว่าไม่สุภาพและไม่เหมาะสมที่นักศึกษาจะแต่งกายเพื่อการติดต่อธุรการหรือบริการใด ๆ ในอาคารที่ทำการของมหาวิทยาลัย หมายถึงการแต่งกายในลักษณะต่อไปนี้
               1.สวมเสื้อยืดไม่มีคอปก
               2. สวมกางเกงขาสั้นที่ไม่ใช่ชุดเรียนในรายวิชากีฬาและนันทนาการ
               3. สวมกางเกงขายาวแต่ขาดวิ่น
               4. ปล่อยชายเสื้อออกนอกกระโปรงหรือกางเกง
               5. สวมรองเท้าแตะใดๆ
       อนึ่ง นักศึกษาต้องดูแลเครื่องแต่งกายให้สะอาดและดูดี ตลอดจนประพฤติตนเป็นสุภาพชนตามปทัสถานของสังคมไทย ต่อบุคคลทั่วไปเป็นนิจสิน

ประกาศ ณ วันที่ 3 เดือนเมษายน พ.ศ. 2545
ทวี เลิศปัญญาวิทย์                
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๒) และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบกับมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการประชุมครั้งที่ /๒๕๔๕ เมื่อวันที่ เดือน ๒๕๔๕ จึงออกข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีไว้ดังต่อไปนี้         ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๕"        ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป         ให้ยกเลิกข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๔๔               บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ มติ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน         ในข้อบังคับนี้               "มหาวิทยาลัย"     หมายถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี                "อธิการบดี"        หมายถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี              "นักศึกษา"           หมายถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี        ให้เครื่องแต่งกายของนักศึกษา มี ๓ ประเภทสำหรับใช้แต่งในโอกาส ต่างๆ ดังนี้               (๑) เครื่องแต่งกายปกติ ใช้สำหรับแต่งในเวลาเรียนปกติ เวลาสอบ และ ติดต่อหรือใช้บริการจาก หน่วยงาน ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย               (๒) เครื่องแต่งกายในงานพิธี ใช้สำหรับแต่งกายในงานราชพิธี รัฐพิธีหรือตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย               (๓) เครื่องแต่งกายในการปฏิบัติงาน ใช้สำหรับแต่งในห้องทดลองหรือโรงฝึกงานของมหาวิทยาลัย        เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาชาย ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้               (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาว หรือสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอ สำหรับให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า               (๓) เข็มขัดแบบสุภาพ สีเข้ม               (๔) รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้น สีดำ หรือน้ำตาล               (๕) ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า        เครื่องแต่งกายปกติสำหรับนักศึกษาหญิง ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้               (๑) เสื้อสีขาว หรือสีอ่อนแบบสุภาพ เนื้อผ้าหนาพอควรไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอ สำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย               (๒) กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้มหรือกรมท่า เนื้อผ้าหนาพอสมควร ไม่มีลวดลาย ความยาวเสมอเข่าหรือต่ำกว่าเข่า               (๓) รองเท้าหนังทรงสุภาพ หุ้มส้น สีสุภาพ         มหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักศึกษาแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบการแต่งกายของกรมการรักษาดินแดนในวันที่มีการเรียนวิชาทหาร        มหาวิทยาลัยอนุญาตให้นักศึกษาแต่งกายด้วยชุดปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน ชุดปฎิบัติงานในไร่ สวนฟาร์ม ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีอาหาร ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ และชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีสังคม ตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และ ข้อ ๑๙ ในเวลาเรียนปกติและในการใช้บริการจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในวันที่มีการปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน ปฎิบัติงานในไร่ สวน ฟาร์ม ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีอาหาร ปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ และปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการเทคโนโลยีสังคม       เครื่องแต่งกายในงานพิธีสำหรับนักศึกษาชาย ให้มีลักษณะดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาวไม่มีลวดลาย ปกเสื้อปลายแหลม ผ่าอกตรงโดยตลอด ติดกระดุมสีขาว มีกระเป๋าที่ด้านซ้าย ตัวเสื้อยาวพอเพื่อให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย               (๒) เนคไทของมหาวิทยาลัย พื้นสีเทา สีเดียวกับกางเกง ปักตรามหาวิทยาลัย               (๓) กางเกงขายาว ทรงสุภาพ สีเทาเข้ม               (๔) เข็มขัดหนังสีดำ ความกว้าง 4 เซนติเมตร หัวเข็มขัดมีเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย               (๕) รองเท้าหนังทรงสุภาพหุ้มส้น สีดำ              (๖) ถุงเท้าสีดำ        เครื่องแต่งกายในงานพิธีสำหรับนักศึกษาหญิง ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้               (๑) เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้น ไม่มีลวดลาย ปกเสื้อปลายแหลม ผ่าอกตรงโดยตลอด ติดกระดุมโลหะสัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เนื้อผ้าหนาพอสมควร ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอสำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย               (๒) เข็มกลัดเสื้อเครื่องหมายมหาวิทยาลัย กลัดเหนือระดับอกด้านซ้าย               (๓) กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีเทาเข้ม เป็นผ้าฝ้ายเนี้อหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ความยาวปิดเข่า               (๔) เข็มขัดหนังสีดำ ขนาดกว้าง ๔ เซนติเมตร หัวเข็มขัดมีเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย               (๕) รองเท้าหนังทรงสุภาพหุ้มส้น สีดำ ความสูงไม่เกิน ๓ นิ้ว        ชุดปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคมีและชีววิทยา นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้              (๑) ให้นักศึกษาสวมชุดปฏิบัติงานทับเครื่องแต่งกายปกติตามที่ระบุไว้ใน ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙              (๒) ชุดปฏิบัติงานเป็นเสื้อสีขาว ปกฮาวาย แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมพลาสติกสีขาว ความยาวของเสื้อคลุมเข่า ด้านหน้า ที่อกเสื้อด้านบนซ้าย และที่ด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าไม่มีฝาปิดแห่งละ ๑ ใบ ปักชื่อและนามสกุลเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีเขียวบนอกเสื้อด้านขวาในตำแหน่งที่สวยงาม ด้านหลัง ตัวเสื้อมีจีบหลังพับข้างละ ๓ จีบ ที่เข็มขัดหลังชายเสื้อด้านล่างผ่าทับกันยาวพอประมาณ ด้านข้าง ตะเข็บด้านข้างทั้ง ๒ ข้าง ผ่าตามแนวบริเวณกระเป๋ากางเกงหรือกระโปรงความยาวพอประมาณ        ชุดปฏิบัติงานในโรงฝึกงานวิศวกรรมพื้นฐาน นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีกรมท่า แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีกรมท่า               (๓) รองเท้าหนัง ผูกเชือก หัวแข็ง สีดำ        ชุดปฏิบัติงานในไร่ สวน และฟาร์ม นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ผ้าฝ้าย แขนยาว สีฟ้าอ่อน หรือสีสุภาพ ผ่าอกตรงโดยตลอด ไม่มีลวดลาย ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋า ข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษา เป็นภาษาไทยด้วยใหมสีเขียว               (๒) กางเกงทรงสุภาพ สีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำเงิน น้ำตาล หรือเทาเข้ม               (๓) รองเท้าผ้าใบ หรือร้องเท้ายาง หรือร้องเท้าบู๊ท ทรงและสีสุภาพ สำหรับสวมใส่ในบริเวณดินเปียกหรือในคอกสัตว์ ถ้าสวมถุงเท้าด้วย ให้ใช้ถุงเท้าสีสุภาพ        ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตพืช นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเขียวดำ แขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีกรมท่า               (๓) รองเท้าหนัง ผูกเชือก หัวแข็ง สีดำ         ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีครีม ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำกรมท่า น้ำตาลหรือเทาเข้ม               (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ       ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาหาร นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเทากรมท่า ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำตาล หรือเทาเข้ม               (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ        ชุดปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการสาธารณสุขศาสตร์ นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฎิบัติเหมือนกัน ดังนี้              (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีแดงเลือดหมูแขนสั้น ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอสมควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาว ด้านล่างข้างซ้ายและขวามีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีเข้ม ดำ กรมท่า น้ำตาล หรือเทาเข้ม               (๓) รองเท้าทรงสุภาพหุ้มส้น สีสุภาพ        ชุดปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสังคม นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงให้ถือปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้               (๑) เสื้อเชิ้ต ปกฮาวาย สีเขียว ไม่มีลวดลาย ผ่าอกตรงโดยตลอด เนื้อผ้าหนาพอควร ติดกระดุมสีเดียวกับเสื้อ แขนเสื้อด้านซ้ายมีที่เสียบปากกา ด้านหน้าข้างซ้ายส่วนบนมีกระเป๋าไม่มีฝาปิด ๑ ใบ บนกระเป๋าปักตรามหาวิทยาลัยตามรูปแบบที่กำหนด ด้านข้างขวาส่วนบนปักชื่อและนามสกุลของนักศึกษาพร้อมทั้งสาขาวิชาเป็นภาษาไทยด้วยไหมสีขาวด้านล่างข้างซ้ายและขวา มีกระเป๋าจีบข้างละ ๑ ใบ ด้านหลัง มีจีบหลังพับตลอดข้างละ ๑ จีบ มีเข็มขัดหลังพร้อมด้วยกระดุม ๒ เม็ด สีเดียวกับเสื้อ               (๒) กางเกงขายาวทรงสุภาพสีเข้ม ดำกรมท่า น้ำตาลหรือเทาเข้ม               (๓) รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้นสีสุภาพ        ชุดปฎิบัติงานสำหรับการปฎิบัติงานในสถานประกอบการสำหรับนักศึกษาชายและหญิงให้ถือ ปฎิบัติตามที่สถานประกอบการที่นักศึกษาปฎิบัติงานกำหนด ิ        หากนักศึกษาแต่งกายไม่สุภาพ หรือไม่เป็นไปตามข้อบังคับนี้ มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาไม่ให้เข้าเรียน เข้าสอบ หรือรับบริการใดๆ จากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย        ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศและข้อกำหนดเพื่อปฎิบัติการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้        โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดลักษณะของเข็มกลัด กระดุม เนคไท และเข็มขัด สำหรับให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีใช้แต่ประกอบเครื่องแต่งกายในงานพิธี        อาศัยอำนาจตามความในข้อ 18 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2544 จึงให้ออกประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่องเข็มกลัด กระดุม เนคไท และเข็มขัด สำหรับเครื่องแต่งกายในงานพิธี พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้        1. เข็มกลัด สำหรับติดเสื้อนักศึกษาหญิง มีลักษณะดังนี้ ตัวเข็มกลัดทำด้วยโลหะชุบทอง ระบบไมครอน กว้าง 2.5 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร เป็นเครื่องหมายมหาวิทยาลัยปั๊มนูน พื้นเป็นลายเม็ดทราย และมีเข็มสำหรับกลัด ล็อกได้ติดกับตัวเสื้อ ซ่อนอยู่ด้านหลังตั้งแต่ฐานเข็มกลัดจนถึงกลางภาพท้าวสุรนารี        2. กระดุม สำหรับติดเสื้อนักศึกษาหญิง มีลักษณะดังนี้ ตัวกระดุมมีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 เซนติเมตร ทำด้วยโลหะชุบทอง ปั๊มนูนตรงกลางมีเครื่องหมายมหาวิทยาลัย ขอบโดยรอบนูนเหนือตัวพื้นเล็กน้อย        3. เนคไท สำหรับนักศึกษาชายมีลักษณะดังนี้ เนคไททำด้วยผ้าสีเทา สีเดียวกับกางเกงของเครื่องแต่งกายในงานพิธี ขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ปักเครื่องหมายมหาวิทยาลัยโดยไม่มีชื่อมหาวิทยาลัยที่ใต้ภาพ อยู่ในตำแหน่งสูงจากปลายเนคไท 20 เซนติเมตร โดยเครื่องหมายมหาวิทยาลัยมีลักษณะดังนี้               - ส่วนที่เป็นเส้นโค้ง ฐานของภาพท้าวสุรนารีพร้อมรูปใบไม้ประกอบ ปักด้วยไหมสีเหลืองทอง               - ส่วนที่เป็นภาพท้าวสุรนารีปักด้วยไหมสีน้ำเงิน - ส่วนที่เป็นเฟืองจักรปักด้วยไหมสีแสด        4. เข็มขัด สำหรับนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีลักษณะเหมือนกันดังนี้               สายเข็มขัด ทำด้วยหนังสีดำ กว้าง 4 เซนติเมตร               หัวเข็มขัด ทำด้วยโลหะสีดำ ลงยา ตอกลายเม็ดทราย ขอบเหนือตัวพื้น 1 มิลลิเมตร ตรงกลางหัวเข็มขัดมีเครื่องหมายมหาวิทยาลัยปั๊มนูนโดยมีลักษณะดังนี้                       - ส่วนที่เป็นเส้นโค้งกับฐานที่ภาพท้าวสุรนารีและใบไม้ลงสีทอง                      - ส่วนที่เป็นภาพท้าวสุรนารี ลงสีดำ                       - ส่วนที่เป็นเฟืองจักร ลงสีส้ม ความสูงลดหลั่นจากตรงกลางลงไป                      - ส่วนที่เป็นชื่อมหาวิทยาลัย ลงสีทองแดง                       - ใต้ส่วนที่เป็นเครื่องหมายมหาวิทยาลัย มีชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษปั๊มนูน “SURANAREE UNIVERSITY OF TECHNOLOGY” ตัวอักษรขนาด 1 x 1.5 มิลลิเมตร               ทั้งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป        โดยที่มหาวิทยาลัยไม่มีเครื่องแบบเป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่ได้กำหนดเครื่องแบบงานพิธีไว้ในโอกาสสำคัญ ส่วนเครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับการเข้าพบอาจารย์ ฟังบรรยาย การเรียนปกติ การสอบ การใช้บริการห้องสมุด หรือการติดต่อขอใช้บริการใดๆ จากมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้นักศึกษาเป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ เป็นผู้พร้อมทั้งภูมิรู้ ภูมิปัญญา ภูมิธรรม และมีความภูมิฐาน เป็นนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ ดังนั้น ขอให้นักศึกษาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมแก่กาละเทศะ โดยยึดถือข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยเครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2544 กล่าวคือ        ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้               1. เสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อความยาวเพียงพอสำหรับให้กางเกงทับได้โดยเรียบร้อย               2. กางเกงขายาวทรงสุภาพ สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า               3. เข็มขัดแบบสุภาพ สีเข้ม               4. ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า               5. รองเท้าทรงสุภาพ หุ้มส้น สีดำหรือน้ำตาล        ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้               1. เสื้อสีขาว หรือสีอ่อน แบบสุภาพ เนื้อผ้าหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ตัวเสื้อมีความยาวเพียงพอสำหรับให้กระโปรงทับได้โดยเรียบร้อย               2. กระโปรงทรงสุภาพ ไม่ผ่าที่ชายกระโปรง สีดำ น้ำตาลเข้ม เทาเข้ม หรือกรมท่า เนื้อผ้าหนาพอควร ไม่มีลวดลาย ความยาวเสมอเข่า หรือต่ำกว่าเข่า              3. รองเท้าหนังทรงสุภาพ หุ้มส้น สีสุภาพ        การแต่งกายที่ถือว่าไม่สุภาพและไม่เหมาะสมที่นักศึกษาจะแต่งกายเพื่อการติดต่อธุรการหรือบริการใด ๆ ในอาคารที่ทำการของมหาวิทยาลัย หมายถึงการแต่งกายในลักษณะต่อไปนี้                1.สวมเสื้อยืดไม่มีคอปก                2. สวมกางเกงขาสั้นที่ไม่ใช่ชุดเรียนในรายวิชากีฬาและนันทนาการ                3. สวมกางเกงขายาวแต่ขาดวิ่น               4. ปล่อยชายเสื้อออกนอกกระโปรงหรือกางเกง                5. สวมรองเท้าแตะใดๆ        อนึ่ง นักศึกษาต้องดูแลเครื่องแต่งกายให้สะอาดและดูดี ตลอดจนประพฤติตนเป็นสุภาพชนตามปทัสถานของสังคมไทย ต่อบุคคลทั่วไปเป็นนิจสิน
ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เรื่อง แนวทางการพิจารณาโทษนักศึกษาผู้กระทำผิดวินัยนักศึกษา
--------------------------------------------

       ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2536 เพื่อธำรงไว้ซึ่งมารยาทและความประพฤติอันดีงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักศึกษา และเพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยไว้แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533 และตามความในข้อ 4 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2536 ให้ยกเลิกประกาศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เรื่อง แนวทางการพิจารณานักศึกษาผู้กระทำผิดวินัยนักศึกษา ลงวันที่ 24 กันยายน 2539 และกำหนดประกาศแนวทางการพิจารณาโทษนักศึกษาผู้กระทำผิดวินัยนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
หมวด 1
ข้อความทั่วไป

       ข้อ 1. นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในแต่ละปีการศึกษาจะมีคะแนนความประพฤติ คนละ 100 คะแนน
       ข้อ 2. หากนักศึกษามีการกระทำผิดวินัยนักศึกษาและได้ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ให้งานวินัย นักศึกษาและการทหารบันทึกข้อมูลการกระทำผิดวินัยนักศึกษาไว้ หากนักศึกษากระทำความผิดอีก แม้จะเป็นความผิดคนละหมวดกัน จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติมากขึ้น และอาจได้รับโทษอื่น ๆ เพิ่ม ตามความในข้อ 30 หมวด 12 แห่งประกาศนี้
       ข้อ 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมอบหมายให้งานวินัยนักศึกษาและการทหาร ส่วนกิจการ นักศึกษา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการดูแลคะแนนความประพฤติของนักศึกษาโดย
               3.1 ตัดคะแนนความประพฤติผิดวินัยในเรื่องรบกวนความสงบสุขต่าง ๆ ซึ่งสามารถตัดได้ ไม่เกิน 10 คะแนน และให้เสนอคณะกรรมการวินัยนักศึกษาเพื่อทราบ
               3.2 หากคะแนนความประพฤติของนักศึกษาเหลือไม่เกิน 60 คะแนน หรือการประพฤติผิดวินัยของนักศึกษานั้น สามารถถูกตัดคะแนนความประพฤติได้ตั้งแต่ 11 คะแนน ขึ้นไป ให้เสนอคณะกรรมการวินัยนักศึกษาเพื่อพิจารณา
       ข้อ 4. นักศึกษาที่เคยถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน 50 คะแนน มหาวิทยาลัยจะไม่ออกใบรับรองความประพฤติให้
       ข้อ 5. นักศึกษาที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติรวมกันแล้วครบ 100 คะแนน ลงโทษให้นักศึกษาผู้นั้น พ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
หมวด 2
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน


       ข้อ 6.นักศึกษาผู้ใดเอาทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยหรือของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของ รวมอยู่ด้วยไปเป็นของตนเองไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 – 99 คะแนน
       ข้อ 7. นักศึกษาผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 –50 คะแนน
       ข้อ 8. นักศึกษาผู้ใดเมื่อได้รับอนุญาตหรือได้รับสิทธิให้ใช้ทรัพย์สินและหรือบริการใด ๆ ของมหาวิทยาลัยแล้วยินยอมให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์สิน หรือใช้สิทธิเกี่ยวกับบริการดังกล่าว โดยมิได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัย หรือโดยทุจริตหรือโดยแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น จะถูก พิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 - 60 คะแนน หมวด 3 ความผิดต่อร่างกาย
       ข้อ 9. นักศึกษาผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 100 คะแนน
หมวด 4
ความผิดเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย


       ข้อ 10. นักศึกษาผู้ใดทะเลาะวิวาทกันเองภายในมหาวิทยาลัยในลักษณะเฉพาะบุคคลจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 – 50 คะแนน
       ข้อ 11. นักศึกษาผู้ใดก่อการทะเลาะวิวาทกับบุคคลภายนอก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 100 คะแนน
       ข้อ 12. นักศึกษาผู้ใดมีของผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง ใช้ หรือจำหน่ายจ่ายแจก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 100 คะแนน
หมวด 5
ความผิดเกี่ยวกับการเล่นการพนัน


       ข้อ 13. นักศึกษาผู้ใดเล่นการพนันใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 99 คะแนน
       ข้อ 14. นักศึกษาผู้ใดมิได้เล่นการพนันแต่สนับสนุนให้มีการเล่นการพนัน จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 70 คะแนน
       ข้อ 15. นักศึกษาผู้ใดร่วมอยู่ในวงการพนันโดยมิได้เป็นผู้สนับสนุนหรือเล่นการพนันเอง จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 – 50 คะแนน
หมวด 6
ความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราหรือของมึนเมา


       ข้อ 16. นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ ภายในมหาวิทยาลัยจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 - 50 คะแนน
       ข้อ 17. นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 60 คะแนน
       ข้อ 18. นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองของนักศึกษาอื่น และหรือของมหาวิทยาลัยโดยรวม จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 – 99 คะแนน
หมวด 7
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ


       ข้อ 19. นักศึกษาผู้ใดมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง หรือมีไว้เสพหรือมีไว้จำหน่ายจ่ายแจก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 100 คะแนน
หมวด 8
ความผิดเกี่ยวกับวินัยจราจร


       ข้อ 20. นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยความผิดนั้นไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติไม่เกิน 10 คะแนน
       ข้อ 21. นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยความผิดนั้นก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 20 คะแนน
       ข้อ 22. นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยความผิดนั้นก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตของผู้อื่น จะถูกพิจารณา ตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 21 -50 คะแนน
หมวด 9
ความผิดเกี่ยวกับความประพฤติ ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม


       ข้อ 23. นักศึกษาผู้ใดไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของอาจารย์ หรือของมหาวิทยาลัย หรือของบุคลากรของมหาวิทยาลัย หรือของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ตลอดจนประพฤติตนไม่เหมาะสม ก้าวร้าว ไม่เป็นสุภาพชนจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 - 50 คะแนน
       ข้อ 24. นักศึกษาผู้ใดให้ถ้อยคำหรือข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 - 50 คะแนน
       ข้อ 25. นักศึกษาผู้ใดปลอมแปลงเอกสารและหรือปลอมแปลงลายมือชื่อ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 20 - 99 คะแนน
       ข้อ 26. นักศึกษาผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นไปในทางเสื่อมเสียต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของส่วนรวม จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 99 คะแนน - หากการกระทำตามวรรคแรกมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 100 คะแนน
       ข้อ 27. นักศึกษาผู้ใดละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการข่มขู่ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 99 คะแนน
หมวด 10
ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยความลับ


       ข้อ 28. นักศึกษาผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ โดยมิชอบและหรือโดยทุจริตเพื่อให้ตนเองหรือผู้หนึ่งผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งเอกสารหรือความลับของผู้อื่นหรือของมหาวิทยาลัย จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นและหรือมหาวิทยาลัยเสียหาย จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 51 - 100 คะแนน
หมวด 11
ความผิดเกี่ยวกับโทษจำคุก


       ข้อ 29. นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดอาญาจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติ 100 คะแนน เว้นแต่เป็นความผิดโดยประมาท ซึ่งให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาแล้วแต่กรณี
หมวด 12
การเพิ่มโทษ


       ข้อ 30.นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดมาแล้วและได้กระทำความผิดอีก แม้จะเป็นความผิดคนละหมวดกันให้คณะกรรมการพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติเพิ่มมากขึ้น

ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2548
ทวี เลิศปัญญาวิทย์               
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


ตารางเปรียบเทียบการตัดคะแนนความประพฤติกับบทลงโทษนักศึกษา (เอกสารแนบท้าย)


คะแนน (เต็ม 100 คะแนน)บทการลงโทษนักศึกษา
10 คะแนนตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
11-20 คะแนน ภาคทัณฑ์ 1 ภาคการศึกษา
21-30 คะแนนภาคทัณฑ์ 2 ภาคการศึกษา
31-40 คะแนนภาคทัณฑ์ 3 ภาคการศึกษา
41-50 คะแนนภาคทัณฑ์ตลอดสภาพนักศึกษา
51-60 คะแนนพักการศึกษา 1 ภาคการศึกษา
61-70 คะแนน พักการศึกษา 2 ภาคการศึกษา
71-99 คะแนนพักการศึกษา 3 ภาคการศึกษา
100 คะแนนพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

 


      ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

  เรื่อง  แนวทางการพิจารณาโทษนักศึกษาผู้กระทำผิดวินัยนักศึกษา

(ใช้กับนักศึกษารหัส B54*****)
          ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2536 เพื่อธำรงไว้ซึ่งมารยาทและความประพฤติอันดีงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักศึกษา และเพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยไว้แล้วนั้น 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2533  และตามความในข้อ 4  แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2536 ให้กำหนดประกาศแนวทางการพิจารณาโทษนักศึกษาผู้กระทำผิดวินัยนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
หมวด 1
ข้อความทั่วไป
ข้อ 1.  นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะมีคะแนนความประพฤติคนละ 100 คะแนน ตลอดสภาพการเป็นนักศึกษา
ข้อ 2.  หากนักศึกษามีการกระทำผิดวินัยนักศึกษาและได้ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ให้งานวินัย      นักศึกษาและการทหารบันทึกข้อมูลการกระทำผิดวินัยนักศึกษาไว้ หากนักศึกษากระทำความผิดอีก แม้จะเป็นความผิดคนละหมวดกัน จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติมากขึ้น และอาจได้รับโทษอื่น ๆ เพิ่ม ตามความในหมวด 12 ข้อ 32 แห่งประกาศนี้
          ข้อ 3.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมอบหมายให้งานวินัยนักศึกษาและการทหาร ส่วนกิจการ        นักศึกษา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการดูแลคะแนนความประพฤติของนักศึกษาโดย
                 3.1 ตัดคะแนนความประพฤติผิดวินัยในเรื่องความผิดเล็กน้อย ซึ่งสามารถตัดได้ไม่เกิน 10 คะแนน และให้เสนอคณะกรรมการวินัยนักศึกษาเพื่อทราบ
                 3.2 หากตัดคะแนนความประพฤติได้ตั้งแต่ 11 คะแนน ขึ้นไป ให้เสนอคณะกรรมการวินัยนักศึกษาเพื่อพิจารณา
          ข้อ 4. นักศึกษาที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติเกิน 70 คะแนน มหาวิทยาลัยจะไม่ออกใบรับรองความประพฤติให้
          ข้อ 5. นักศึกษาที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติครบ 100 คะแนน ลงโทษให้นักศึกษาผู้นั้นพ้นสภาพจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย   
          ข้อ 6. คะแนนที่ถูกตัดและได้นำไปใช้ในการลงโทษแล้ว จะไม่นำมาใช้เพื่อการลงโทษครั้งต่อไป แต่จะเก็บสะสมไว้เพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาตามข้อ 5 เท่านั้น
หมวด 2
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน
          ข้อ 7.  นักศึกษาผู้ใดเอาทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยหรือของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปเป็นของตนเองไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง  11 – 99 คะแนน
          ข้อ 8.  นักศึกษาผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง  11 –70 คะแนน
          ข้อ 9.  นักศึกษาผู้ใดเมื่อได้รับอนุญาตหรือได้รับสิทธิ์ให้ใช้ทรัพย์สินและหรือบริการใด ๆ ของมหาวิทยาลัยแล้วยินยอมให้ผู้อื่นใช้ทรัพย์สิน หรือใช้สิทธิ์เกี่ยวกับบริการดังกล่าว โดยมิได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัย หรือโดยทุจริตหรือโดยแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น จะถูก    พิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 80  คะแนน
หมวด 3
ความผิดต่อร่างกาย
ข้อ 10.  นักศึกษาผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 100   คะแนน
หมวด 4
ความผิดเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ข้อ 11.  นักศึกษาผู้ใดทะเลาะวิวาทกันเองในลักษณะเฉพาะบุคคล จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 – 70  คะแนน
ข้อ 12.  นักศึกษาผู้ใดทะเลาะวิวาทกันเองในลักษณะกลุ่ม จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 31 –100  คะแนน
ข้อ 13.  นักศึกษาผู้ใดก่อการทะเลาะวิวาทกับบุคคลภายนอก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 31 - 100  คะแนน
ข้อ 14.  นักศึกษาผู้ใดมีของผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง ใช้ หรือจำหน่ายจ่ายแจก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 100  คะแนน
หมวด 5
ความผิดเกี่ยวกับการเล่นการพนัน
ข้อ 15.  นักศึกษาผู้ใดเล่นการพนันใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 80  คะแนน
ข้อ 16.  นักศึกษาผู้ใดมิได้เล่นการพนันแต่สนับสนุนให้มีการเล่นการพนัน จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 70  คะแนน
ข้อ 17.  นักศึกษาผู้ใดร่วมอยู่ในวงการพนันโดยมิได้เป็นผู้สนับสนุนหรือเล่นการพนันเอง  จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 – 70  คะแนน
หมวด 6
ความผิดเกี่ยวกับการเสพสุราหรือของมึนเมา
ข้อ 18.  นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ ภายในมหาวิทยาลัยจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 80  คะแนน
ข้อ 19.  นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 80  คะแนน
ข้อ 20.  นักศึกษาผู้ใดเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างใด ๆ จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองของนักศึกษาอื่น และหรือของมหาวิทยาลัยโดยรวม จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง     71 – 99  คะแนน
หมวด 7
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
ข้อ 21.  นักศึกษาผู้ใดมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง หรือมีไว้เสพหรือมีไว้จำหน่ายจ่ายแจก จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 -  100  คะแนน
หมวด 8
ความผิดเกี่ยวกับวินัยจราจร
ข้อ 22.  นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522  
โดยความผิดนั้นไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใด ๆ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 1-10 คะแนน
ข้อ 23.  นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522   
โดยความผิดนั้นก่อให้เกิดอุบัติเหตุ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 30 คะแนน
ข้อ 24.  นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 
โดยความผิดนั้นก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิตของผู้อื่น จะถูกพิจารณา
ตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 31 -70 คะแนน
หมวด 9
ความผิดเกี่ยวกับความประพฤติ ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
ข้อ 25.  นักศึกษาผู้ใดไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของอาจารย์ หรือของมหาวิทยาลัย หรือของบุคลากรของมหาวิทยาลัย หรือของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง  ตลอดจนประพฤติตนไม่เหมาะสม ก้าวร้าว ไม่เป็นสุภาพชนจะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง  10 - 70  คะแนน
ข้อ 26.  นักศึกษาผู้ใดให้ถ้อยคำหรือข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 10 - 70  คะแนน
ข้อ 27.  นักศึกษาผู้ใดปลอมแปลงเอกสารและหรือปลอมแปลงลายมือชื่อ จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 30 - 99  คะแนน
ข้อ 28.  นักศึกษาผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นไปในทางเสื่อมเสียต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของส่วนรวม จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 99  คะแนน
          -  หากการกระทำตามวรรคแรกมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 91 - 100  คะแนน
ข้อ 29.  นักศึกษาผู้ใดละเมิดสิทธิของผู้อื่น โดยการข่มขู่ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี  จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 11 - 99  คะแนน
หมวด 10
ความผิดเกี่ยวกับการเปิดเผยความลับ
ข้อ 30.  นักศึกษาผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ โดยมิชอบและหรือโดยทุจริตเพื่อให้ตนเองหรือผู้หนึ่งผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งเอกสารหรือความลับของผู้อื่นหรือของมหาวิทยาลัย จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นและหรือมหาวิทยาลัยเสียหาย จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติระหว่าง 71 - 100  คะแนน
หมวด 11
ความผิดเกี่ยวกับโทษจำคุก
ข้อ 31.  นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดอาญาจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา จะถูกพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติ 100  คะแนน  เว้นแต่เป็นความผิดโดยประมาท ซึ่งให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาแล้วแต่กรณี
หมวด 12
การเพิ่มโทษ
ข้อ 32.  นักศึกษาผู้ใดกระทำความผิดมาแล้วและได้กระทำความผิดอีก แม้จะเป็นความผิดคนละหมวดกันให้คณะกรรมการพิจารณาตัดคะแนนความประพฤติเพิ่มมากขึ้น

          ทั้งนี้ให้มีผลใช้บังคับสำหรับนักศึกษาแรกเข้าปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป
 
                                      ประกาศ  ณ  วันที่  8  เมษายน  พ.ศ.  2554

                                                         ประสาท  สืบค้า
                                            (ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท  สืบค้า)
                                         อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี




















ตารางเปรียบเทียบการตัดคะแนนความประพฤติกับบทลงโทษนักศึกษา

(เอกสารแนบท้าย)

คะแนน
(เต็ม 100 คะแนน)

บทการลงโทษนักศึกษา



10 คะแนน

11-30 คะแนน
31-50 คะแนน
51-70 คะแนน
71-80 คะแนน
81-90 คะแนน
91-99 คะแนน
100 คะแนน


ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
ภาคทัณฑ์ 1 ภาคการศึกษา
ภาคทัณฑ์ 2 ภาคการศึกษา
ภาคทัณฑ์ 3 ภาคการศึกษา
พักการศึกษา 1 ภาคการศึกษา
พักการศึกษา 2 ภาคการศึกษา
พักการศึกษา 3 ภาคการศึกษา
พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา



 
 
งานวินัยนักศึกษาและการทหาร ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000