แบบฟอร์มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
กรณีที่ 1 สมัครสมาชิกใหม่
1.1 กรณีนายจ้างไม่เปิดให้สมาชิกเลือกลงทุนได้ด้วยตนเอง (NON Choice)ให้พนักงานใหม่ที่จะเข้ากองทุนกรอกข้อมูลใน 2 แบบฟอร์ม ดังนี้ส่งให้คณะกรรมการกองทุน และให้คณะกรรมการกองทุนเก็บไว้ที่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง (ไม่ต้องส่งมาให้ทาง เอไอเอ)
- แบบฟอร์ม 1 “ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก” (ไม่ต้องส่งมาให้ทางเอไอเอ)
- แบบฟอร์ม 2 “หนังสือระบุผู้รับผลประโยชน์” (ไม่ต้องส่งมาให้ทางเอไอเอ)
เฉพาะ สมาชิกที่มีสัญชาติอเมริกัน และสมาชิกที่มีข้อบ่งชี้ถึงการมีสัญชาติอเมริกัน ให้นำส่งสำเนาแบบฟอร์ม 1พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของสมาชิก เอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี) และแบบฟอร์ม W-9 หรือ W-8BEN ฉบับจริง พร้อมกับแบบฟอร์มความยินยอมตามกฎหมาย FATCA (FATCA Consent Form) ฉบับจริงที่กรอกและลงนามพร้อมลงวันที่โดยสมาชิกให้เอไอเอภายใน 30 วันนับแต่วันที่สมาชิกเข้าเป็นสมาชิกกองทุน (สำหรับสมาชิกรายอื่นให้เก็บเอกสารไว้ที่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง)
1.2 เฉพาะกรณีนายจ้างเปิดให้สมาชิกเลือกลงทุนได้ด้วยตนเอง (Employee’s choice)ให้พนักงานใหม่ที่จะเข้ากองทุนกรอกข้อมูลใน 4 แบบฟอร์ม ดังนี้
- แบบฟอร์ม 1 “ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก” (ไม่ต้องส่งมาให้ทางเอไอเอ)
- แบบฟอร์ม 2 “หนังสือระบุผู้รับผลประโยชน์” (ไม่ต้องส่งมาให้ทางเอไอเอ)
- แบบฟอร์ม 12 “หนังสือแจ้งความจำนงเลือกแผนการลงทุนครั้งแรก / เปลี่ยนแผนการลงทุน”
- แบบฟอร์ม 17 “แบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความเหมาะสมในการเลือกแผนการลงทุน” (Member Risk Profile)
ให้ทางบริษัทส่งแบบฟอร์ม 12 และแบบฟอร์ม 17 ฉบับจริงมาให้ทางเอไอเอตามที่อยู่ข้างต้น โดยแบบฟอร์ม 1 และแบบฟอร์ม 2 ให้คณะกรรมการกองทุนเก็บไว้ที่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง (ไม่ต้องส่งมาให้ทาง เอไอเอ)
ทั้งนี้ หากไม่ส่งแบบฟอร์ม 12 ให้ถือว่าสมาชิกเลือกแผนการลงทุน (Default Plan) ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการของแต่ละรายนายจ้าง เฉพาะ สมาชิกที่มีสัญชาติอเมริกัน และสมาชิกที่มีข้อบ่งชี้ถึงการมีสัญชาติอเมริกัน ให้นำส่งสำเนาแบบฟอร์ม 1 พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของสมาชิก เอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี) และแบบฟอร์ม W-9 หรือ W-8BEN ฉบับจริง พร้อมกับแบบฟอร์มความยินยอมตามกฎหมาย FATCA (FATCA Consent Form) ฉบับจริงที่กรอกและลงนามพร้อมลงวันที่โดยสมาชิกให้เอไอเอภายใน 30 วันนับแต่วันที่สมาชิกเข้าเป็นสมาชิกกองทุน (สำหรับสมาชิกรายอื่นให้เก็บเอกสารไว้ที่บริษัทเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง)
กรณีที่ 2 สมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ
ให้กรรมการกองทุน หรือฝ่ายบุคคลแจ้งให้เอไอเอทราบโดยเร็วที่สุด (โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหนังสือเดินทางของสมาชิกที่ลาออกในทุกกรณี)
2.1 กรณีขอถอนเงินออกจากกองทุน
- แบบฟอร์ม 3.1 “หนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน” (สำหรับสมาชิกกองทุนกรอก) ให้สมาชิกกองทุนกรอกรายละเอียดและส่งให้คณะกรรมการกองทุนเก็บไว้ที่บริษัทเป็นหลักฐาน (ไม่ต้องส่งมาให้ทางเอไอเอ)
- แบบฟอร์ม 3 “หนังสือแจ้งการสิ้นสุดสมาชิกภาพ” (สำหรับบริษัทกรอก) (excel file) ให้คณะกรรมการกองทุนกรอกรายละเอียดการสิ้นสุดสมาชิกภาพในทุกกรณีของสมาชิกข้างต้นทุกคน และลงนามโดยคณะกรรมการกองทุนผู้มีอำนาจลงนาม (ตามแบบลายมือชื่อและเงื่อนไขการลงนามฯที่ได้แจ้งไว้กับเอไอเอ)
-ให้คณะกรรมการกองทุนส่งเฉพาะแบบฟอร์ม 3 (excel file) พร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางของสมาชิกที่ลาออก ต้นฉบับตัวจริง ของทุกคนมายังเอไอเอ เพื่อเอไอเอจะได้ดำเนินการขายหน่วยและออกเช็คให้กับสมาชิก (ได้ทันภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นสมาชิกภาพตามที่พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาตรา 23 กำหนดไว้)
เฉพาะ สมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ ที่มีสัญชาติอเมริกัน และสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ ที่มีข้อบ่งชี้ถึงการมีสัญชาติอเมริกัน ให้นำส่งแบบฟอร์มความยินยอมตามกฎหมาย FATCA (FATCA Consent Form) ฉบับจริง, แบบฟอร์ม W-9 หรือ W-8BEN ฉบับจริงที่กรอกและลงนามพร้อมลงวันที่โดยสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ พร้อมกับสำเนาบัตรประชาชน/หนังสือเดินทางของสมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ พร้อมกับแบบฟอร์ม 3 ให้เอไอเอ
2.2 กรณีประสงค์ขอคงเงินไว้ในกองทุนนี้
1. ให้สมาชิกกรอกข้อมูลใน 2 แบบฟอร์มส่งให้คณะกรรมการ ดังนี้
- แบบฟอร์ม 4 “หนังสือแจ้งความประสงค์ให้คงเงินไว้ในกองทุน” พร้อมชำระค่าธรรมเนียม และแนบสำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรก ตามรายละเอียดในแบบฟอร์ม
- แบบฟอร์ม 13 “หนังสือแจ้งความประสงค์ในการเปลี่ยนแผนการลงทุน” กรณีที่สมาชิกประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของตนใหม่อีกครั้ง (เฉพาะกรณีนายจ้างเปิดให้สมาชิกเลือกลงทุนได้)
2. ให้คณะกรรมการกองทุนส่ง แบบฟอร์ม 4 และ ใบ Pay-in Slip ที่สมาชิกชำระค่าธรรมเนียมการคงเงินให้เอไอเอ และ แบบฟอร์ม 12 (หากสมาชิกประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของตน) มาพร้อมกับแบบฟอร์ม 3 “หนังสือแจ้งการสิ้นสุดสมาชิกภาพ” (สำหรับบริษัท) (excel file) (เอกสารต้นฉบับตัวจริงทั้) ให้เอไอเอ ก่อนวันสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก
ทั้งนี้ หากมิได้นำส่งแบบฟอร์ม 4 หรือ ใบ Pay-in Slip หรือส่งมาหลังวันสิ้นสุดสมาชิกภาพไปแล้ว ให้ถือว่าสมาชิกประสงค์รับเงินทั้งหมดออกจากกองทุน หรือ หากมิได้ส่งแบบฟอร์ม 12 ให้ถือว่าสมาชิกที่จะคงเงินไว้ในกองทุนนั้น เลือกอยู่ในแผนการลงทุนเดิมที่ได้แจ้งไว้ครั้งล่าสุดก่อนการสิ้นสุดสมาชิกภาพนี้
5. ให้สมาชิกที่ขอคงเงินไว้ เก็บแบบฟอร์ม 5 หรือ 5.1 “หนังสือขอรับเงินที่คงเงินไว้ในกองทุน” ไว้เมื่อต้องการนำเงินออกจากกองทุน หรือโอนย้ายเงินไปกองทุนอื่น
2.3 กรณีขอโอนย้ายสมาชิกไปกองทุนอื่น / นายจ้างอื่น ให้คณะกรรมการกองทุนกรอกรายละเอียดของสมาชิกที่จะโอนย้ายไปกองทุนอื่น/นายจ้างอื่นใน 2 แบบฟอร์ม ดังนี้
- แบบฟอร์ม 3 “หนังสือแจ้งการสิ้นสุดสมาชิกภาพ” (สำหรับบริษัท) (excel file)
- แบบฟอร์ม 7 “จดหมายขอแจ้งโอนย้ายสมาชิก”
และส่งต้นฉบับตัวจริงให้เอไอเอ เพื่อดำเนินการขายหน่วยและออกเช็คสั่งจ่ายในนามกองทุนใหม่ ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องนำเช็คดังกล่าวไปให้นายจ้างใหม่ เพื่อดำเนินการนำเงินเข้ากองทุนใหม่ต่อไป
2.4 กรณีขอโอนย้ายไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF for PVD) ให้คณะกรรมการกองทุนกรอกรายละเอียดของสมาชิกที่จะโอนย้ายไปรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF for PVD) ในแบบฟอร์ม 3 (excel file) และส่งต้นฉบับตัวจริงให้เอไอเอ พร้อมแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้ เพื่อดำเนินการขายหน่วยและออกเช็คสั่งจ่ายในนามกองทุนใหม่
- แบบฟอร์ม 3 “หนังสือแจ้งการสิ้นสุดสมาชิกภาพ” (สำหรับบริษัท) (excel file)
- หนังสือ/แบบฟอร์มคำสั่งรับโอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
ทั้งนี้ เอไอเอจะต้องนำเช็คดังกล่าวส่งไปให้นายจ้าง หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เพื่อดำเนินการนำเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป
- บันทึกบัญชีรับ-จ่าย เรื่องง่ายๆที่ควรรู้ และมนุษย์เงินเดือนก็มั่งคั่งได้
- คู่มือสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ใบสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับชาวต่างชาติสัญชาติอเมริกัน
- แบบฟอร์มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว(ปรับปรุง 12 กุมภาพันธ์ 2559)
- สิทธิประโยชน์ด้านภาษีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- Website กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เอไอเอ Link : http://www.aia.co.th/th/business/product-and-services/retirement-services/
- เอกสารแนบ 1 : พื้นฐานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่สมาชิกควรทราบ
- เอกสารแนบ 2: ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
กรณีสมาชิกใหม่
กรณีสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ
- ทั้งนี้ สมาชิกที่จะสิ้นสุดสมาชิกภาพ สามารถลองคำนวณภาษีที่จะต้องจ่าย ตาม Link: http://capital.sec.or.th/webapp/esub/taxcal/tc1.htm
- เอกสารแนบ 5 : สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพ เพื่อประโยชน์ในการยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
อื่นๆ