เครื่องดนตรีของประเทศสมาชิก
บรูไน ดารุสซาลาม |
|
![]() |
Tawak Tawak เป็นเครื่องดนตรีผลิตจากทองเหลือง พบที่ซาราวักบนเกาะบอร์เนียว เครื่องดนตรีที่ทำจากทองเหลืองของบรูไน ดารุสซาลามและที่อื่น ๆ บนเกาะบอร์เนียวในสมัยก่อนนั้นโดยมากมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน เห็นได้จากการที่มีลวดลายด้านหน้าเป็นรูปมังกรและสัตว์ทะเล ปูและปลา ขอบด้านข้างเป็นรูปจระเจ้และปลา ครั้งหนึ่ง Tawak Tawak ใช้เป็นสัญญาณเรียกคนให้มารวมตัวกันไม่ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Gamelan เหมือนเช่นในอินโดนีเซีย |
![]() |
Gambus เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ มีสายทั้งหมด 12 เส้น ดีดด้วยปิ๊ก ไม่เหมือนกับเครื่องดนตรีตะวันตก เช่น แมนโดลินตรงที่ Gambus ไม่มีลายสลัก การปรับเสียงและรูปแบบการเล่นของ Gambus นั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องดนตรีของชาวอาหรับ |
![]() |
Gandang เป็นคำทั่วไปที่ใช้แสดงความหมายถึงกลองทุกชนิด ตัวกลองมีขนาดยาว ผิวหน้าของกลองมีสองด้าน ซึ่งมีขนาดต่างกัน ทำมาจากหนังแกะหรือหนังวัว หนังกลองแนบชิดไปกับตัวกลองด้วยเส้นหวาย Gandang จะพบได้ที่กลุ่มของ Gamelan ของชาวชวาในรัฐยะโฮร์ Gandang มลายูเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการแสดงดนตรีในโรงมหรสพ เช่นเดียวกับ Gamelan |
กัมพูชา |
|
![]() |
Krapeu หรือที่เรียกว่า จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างเหมือนจะเข้ ประดับด้วยลวดลายมีสายสามสายสำหรับดีด คำว่า Krapeu ในภาษากัมพูชาหมายถึง จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีคลาสสิคของกัมพูชาสมัยปัจจุบัน จะเข้มักจะมี 3 หรือ 5 ขารองรับตัวเครื่อง เมื่อแสดงผู้เล่นจะนั่งข้างเครื่องดนตรี มือซ้ายดีดพิณขึ้นและลง ขณะที่มือขวาดึงด้วยการใช้ไม้ดีด จะเข้จะใช้สำหรับเป็นเครื่องดนตรีในงานแต่งงาน |
![]() |
Sampho เป็นกลองยาวขนาดเล็กของชนพื้นเมืองในประเทศกัมพูชา มีสองหัวและเล่นโดยดารใช้มือสองมือ ผู้เล่น Sampho เป็นผู้นำกลุ่มเครื่องเป่าและกลองคอยกำหนดจังหวะ Sampho มีลักษณะคล้ายกับตะโพน |
![]() |
Tro ซอกัมพูชาเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประเภทเครื่องสายของกัมพูชา ตัวซอทำมาจากกะลามะพร้าวชนิดพิเศษ ปลายข้างหนึ่งจะถูกปิดด้วยหนังสัตว์ สายทั้งสามทำมาจากเส้นไหม ซอกัมพูชามีลักษณะคล้ายคลึงกับซอสามสายของไทย |
อินโดนีเซีย |
|
![]() |
Gamelan เป็นกลุ่มของเครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด เช่น metallophones, xylophones และ gongs ขลุ่ยไม้ไผ่ อาจมีนักร้องด้วยก็ได้ คำว่า “Gamelan” มาจากคำของชาวชวา คำว่า “ gamel” มีความหมายว่า ตี หรือ เคาะ และตัวท้าย “an” ใส่เพื่อทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์ |
![]() |
Angklung เป็นเครื่องดนตรีที่ทำมาจากท่อไม้ไผ่ 2 ชิ้นแนบกับโครงไม้ไผ่ท่อ มีลักษณะเป็นวงโค้งเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงก้องกังวาน ฐานของโครงนั้นจะถูกยึดกุมด้วยมือเดียว ขณะที่อีกมือหนึ่งเขย่าอย่างเร็วจากด้านหนึ่งไปด้านหนึ่ง Angklung ทั้งสามอันหรือมากกว่านั้นจะแสดงเป็นกลุ่ม แต่ละอันจะเล่นเพียงโน้ตเดียว และเมื่อเสียงของแต่ละอันรวมกันก็จะเกิดเป็นท่วงทำนองหลักขึ้น Angklung ได้รับความนิยมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีถิ่นกำเนินที่อินโดนีเซีย (ชาวชุนดาใช้และเล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ) |
![]() |
Gambang หรือที่เรียกว่า Gambang kayu (Gambang ไม้) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับระนาดที่ใช้ในหมู่ชาวอินโดนีเซียและทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ ในวงมโหรี Gamelan และ Kulintang |
ลาว |
|
![]() |
Khene เป็นเครื่องเป่ามีสิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านสิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาดบางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนสูกแคน นอกจากบรรเลงเป็นวงแล้วก็ยังใช้บรรเลงประกอบการรำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ โปงลาง ฯลฯ |
มาเลเซีย |
|
![]() |
Serunai เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของชาวมาเลย์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีนานและเล่นโดยชุมชนชาวมาเลย์ในรัฐกลันตันชายฝั่งทะเลตะวันออกของมาเลเซีย ตัว serunai มีรูที่ใช้นิ้วปิดข้างหน้า 7 รู ข้างหลัง 1 รู จะสร้างเสียงผ่านรูต่าง ๆ เป่าไปพร้อม ๆ กับการแสดงวายัง กุลิด (การเล่นหนังตะลุง) หรือวงมโหรีหลวง |
![]() |
Rebab เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวมาเลย์ประเภทเครื่องดีดสามสาย ส่วนโค้งของตัวเครื่องที่ยื่นออกไปเป็นไม้เนื้อแข็งรูปสามเหลี่ยม มักจะทำจากไม้ของต้นขนุน ด้านหน้าตัวเครื่องปิดด้วยแผ่นกระเพาะด้านในของวัว ใช้ก้อนขี้ผึ้งเล็กๆยึดกับส่วนตัวเครื่องด้านบนทางซ้ายมือเพื่อขึงหน้าให้ตึง |
![]() |
Sape เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ Sape ถูกทำให้โค้งงอด้วยลำไม้ เครื่องดนตรีสมัยใหม่จำนวนมากมักจะมีความยาวเป็นเมตร Sape เป็นเครื่องดนตรีแบบที่เรียบง่าย เส้นแต่ละเส้นจะเป็นหนึ่งเสียง ส่วนเส้นที่เสริมเข้ามาจะถูกดีดเพื่อให้เกิดเสียงต่ำ ดนตรี Sape มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากความฝัน |
![]() |
Kulintangan เป็นเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาทางตะวันตกของซาบาห์โดยชาวบรูไน แต่เป็นเครื่องดนตรีโบราณของชาว Bajaus ชาว Dusun และชาว Kadazan มักใช้เล่นในวันงานเทศกาล เช่น งานแต่งงานและพิธีกรรมทางศาสนาจะใช้เล่นร่วมกับฆ้อง (gong) พื้นเมืองชนิดอื่น ๆ Kulintangan ประกอบด้วยฆ้องเล็ก ๆ 8-9 ลูก วางเรียงต่อกันตามระดับทำนอง ผู้เล่นจะนั่งบนพื้นหน้าเครื่องดนตรีและตีด้วยไม้ที่ถูกหุ้มด้วยผ้าเล็ก ๆ |
![]() |
Drum เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง |
พม่า |
|
![]() |
Saung เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง Saung มีลักษณะเฉพาะ มีจุดเด่นตรงที่เป็นพิณโบราณของชาวพื้นเมืองที่ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ |
![]() |
Myanma saing waing หรือที่เรียกว่าวงมโหรีของพม่า ซี่งมีกลิ่นอายของวงออเคสตร้า นิยมเล่นในอาคาร |
ฟิลิปปินส์ |
|
![]() |
Debakan หรือ Dabakan เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากทางตะวันออกกลาง Debakan มาจากคำว่า Debak ซึ่งแปลว่า ตี Debakan จึงหมายถึง ที่ใช้ตี Debakan มีรูปร่างคล้ายกับนาฬิกาทรายหรือกรวย โดยทั่วไปแล้ว Debakan จะมีความยาวมากกว่า 2 ฟุต และมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดถึงส่วนที่กว้างที่สุดชั้นนอกมากกว่าหนึ่งฟุต ชั้นนอกสุดของกลองมีลักษณะโค้งเว้าทำด้วยไม้หรือลำต้นของต้นมะพร้าว ซึ่งทำให้กลอวตลอด หน้ากลองถูกขึงจนตึงทำจากหนังแกะหนังควาย หนังกวางหรือหนังงู
|
![]() |
Kulintang พบได้โดยทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Kulintang เป็นชื่อของวงมโหรี และยังเป็นชื่อของเครื่องดนตรีนำอีกด้วย Kulintang เป็นเครื่องส่งสัญญาณในสมัยดั้งเดิมของชนพื้นเมือง ประกอบด้วยฆ้องประมาณ 8 อันจะวางอยู่บนฐานที่ประดับลวดลาย ฆ้องแต่ละลูกจะให้เสียงดนตรีที่แตกต่างกัน มักจะเล่นโดยผู้เล่นคนเดียวพร้อมกับไม้ขนาดเล็ก 2 อัน |
![]() |
Chimes กระดิ่งเป็นเครื่องที่ทำให้เกิดเสียอย่างง่าย เป็นเครื่องเคาะ มักจะมีรูเปิดด้านหนึ่งปิดด้านหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดเสียงก้อง เมื่อเคาะ ลักษณะเด่นเพิ่มเติมคือ มีลูกกระดิ่งห้อยอยู่ในตัว ส่วนใหญ่กระดิ่งมักจะทำโดยโลหะแต่กระดิ่งเล็ก ๆ สามารถใช้เซรามิกหรือแก้วทำก็ได้ มีขนาดตามแต่การใช้งาน |
![]() |
Gandingan เป็นชุดของฆ้องแขวนขนาดใหญ่ 4 อัน ใช้เล่นเป็นส่วนหนึ่งของวงมโหรี Kulingtan เมื่อรวมเข้ากับวงแล้ว Gandingan จะมีหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นที่สองเล่นหลังจากเครื่องตนเตรีทำนองหลัก เมื่อเล่น Gandingan เดี่ยวๆ จะเป็นสัญญาณสื่อสารโดยส่งข้อความหรือคำเตือนในระยะไกล |
![]() |
Kudyapi เป็นพิณรูปคล้ายเรือ อยู่ในตระกูลเดียวกับ Sape ที่พบที่บอร์เนียวและอินโดนีเซีย ถูกจัดให้อยู่ในตระกูล “ เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ที่มีรูปทรงเรือ” บางครั้ง Kudyapi จะมีความยาวประมาณ 4 ถึง 6 ฟุต |
![]() |
Gangsa เป็นเครื่องดนตรีประกอบการเด้นแบบพื้นเมือง และใช้ในการขอพรจากพระเจ้าเพื่อให้โชคดี มีวิธีการเล่น Gangas หลายวิธีในฟิลิปปินส์โดยเฉพาะชาว Cordillera และชนเผ่าอื่น ๆ ต่างก็มี Gangsa ที่เป็นของตัวเอง |
สิงคโปร์ |
|
![]() |
Dizi เป็นขลุ่ยจีนดั้งเดิมมีปุ่ม 3 ปุ่ม อาจจะมีแผ่นบาง ๆ เพื่อปิดรูไว้เพื่อทำให้เกิดเสียงรัว เชื่อกันว่า Dizi นำมาจากทิเบตในช่วงยุคราชวงค์ฮั่นและตั้งแต่นั้นมาก็มีการใช้ในประเทศจีนมาเป็นเวลากว่า 2 พันปีแล้ว ผู้เล่นจะมีเทคนิคในการเป่ามากมาย ซึ่งก็จะทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไป |
![]() |
Erhu เกิดขึ้นในประเทศจีนในสมัยรัชวงศ์ถัง เป็นซอสองสายที่เล่นบนตัก เส้นสายจะมีระดับเสียง 5 ระดับ ใช้คันชักในการสี มีรูปแบบหลายชนิดโดยรูปร่างและกล่องเสียงก็จะแตกต่างกันออกไป Erhu กลายมาเป็นเครื่องดนตรีหลักในอุปรากรจีน |
![]() |
Gaohu เป็นเครื่องดนตรีหลักของเพลงกวางตุ้งและเพลงอุปรากรจีน Gaohu มีลักษณะคล้ายกับ Erhu แต่มีกล่องเสียงที่มีน้ำหนักเบากว่า โดยทั่วไปกล่องเสียงจะเป็นวงกลม และมีระดับเสียงที่สูงกว่าคือ 5 ระดับด้วยกัน และมีเสียงที่กังวานกว่าเมื่อเทียบกับ Erhu |
![]() |
Veena เป็นเครื่องดีดที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในดนตรี Carnatic (ดนตรีที่เล่นกันทางตอนใต้ของอินเดีย) รูปแบบของ Veena มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปผู้ที่เล่น Veena เราจะเรียกเขาว่า Vainika |
![]() |
Zhongruan เป็นเครื่องดีดของจีนที่อาจจะใช้นิ้วหรือปิ๊กดีดก็ได้ มีลักษณะคล้ายกับ pipa มีคอตั้งตรง มีกล่องเสียงเป็นวงกลมและมีลวดลายสลัก |
![]() |
Guzheng เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของจีน เป็นแม่แบบของ koto เครื่องดนตรีญี่ปุ่น yatga เครื่องดนตรีของมองโกเลีย และ Kayageum เครื่องดนตรีของเกาหลีแม่แบบของ Guzheng คือ se (เครื่องดนตรีประเภทสายโบราณของจีน) สายของมันแต่เดิมแล้วทำด้วยไหม จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นสายโลหะและเหล็กที่พันด้วยไนลอนตามลำดับ จำนวนสายของ Guzheng จะมีจำนวนไม่แน่นอนอย่างน้อยที่สุดมี 6 เส้น หรือมากที่สุด 23 เส้น |
![]() |
Yangqin เป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายขิมของประเทศไทย แต่เดิมแล้วมาจากประเทศแถบตะวันออกกลาง มีรูปแบบแตกต่างกันไป เป็นที่นิยมไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศจีน แต่ยังนิยมในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง อินเดียและปากีสถานอีกด้วย Yangqin ใช้เล่นอยู่ในวงหรือเล่นเดี่ยวก็ได้ |
![]() |
Konghou ลักษณะเด่นที่ Konghou ต่างจากพิณคอนเสิร์ตในตะวันตกคือ สายของ Konghou จะถูกพับเพื่อทำให้เกิดแถวสองแถว ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคการเล่นชั้นสูงได้ สายที่มีสองแถวนั้นยังเหมาะกับการเล่นจังหวะเร็วและเสียงประกอบด้วย |
![]() |
Pipa บางครั้งเรียก ขลุ่ยจีน มีรูปร่างเหมือนผลแพร์ ใช้เป็นเครื่องดนตรีมาเป็นเวลายาวนานกว่า 2 พันปีในจีน วิธีการเล่น คือใช้ทุกนิ้วข้างขวายกเว้นนิ้วหัวแม่มือกดสายจากขวาไปซ้าย และใช้นิ้วหัวแม่มือขวาดีดจากซ้ายไปขวา เมื่อเริ่มแรกสายจะถูกดีดด้วยปิ๊กอันใหญ่ จากนั้นก็ค่อยๆเปลี่ยนมาใช้นิ้วข้างขวาแทน |
ไทย |
|
![]() |
ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่งจำพวกเครื่องสายมีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง เป็นซอที่มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูงใช้ในราชสำนัก |
![]() |
ฆ้องวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัสชัน ทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่มาจากภาษาชวา ปรากฎการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่นจีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน |
![]() |
ขิิม แต่เดิมนั้นเป็นเครื่องดนตรีประเทศจีน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยรัชการที่ 4 นักดนตรีของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขโดยเปลี่ยนจากสายลวดมาเป็นสายทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายและมือขวามีระดับเกือบจะตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและก้านแข็งขึ้น หย่องที่หนุนสายีความหนากว่าเดิม เพื่อให้เกิดความสมดุลและเพื่อเพิ่มเสียงให้มีความดังมากยิ่งขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมามีความแข็งกร้าวจนเกินไปให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสายทำให้เกิดความนุ่มนวลและได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมของไทยในปัจจุบัน |
![]() |
ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุมจึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ระนาดเอกนี้นักดนตรีนิยมเรียกกันสั้นๆว่า “ระนาด” เริ่มมีการนำเอาระนาดเอกมาประสมในวงดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนประกอบของระนาดเอกมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ คือ รางและผืนระนาด หน้าที่ในการบรรเลงระนาดเอกปสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงเครื่องสายผสมวงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำของวง |
![]() |
ระนาดทุ้ม กำเนิดนามัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประดิษฐขึ้นให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงงทุ้มต่ำกับระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ระนาดทุ้มผสมร่วมอยู่ในวงมโหรี วงปีพาทย์ไม้แข็ง วงปีพาทย์ไม้นวม วงปีพาทย์นางหงส์ วงปีพาทย์ดึก่ำบรรพ์ และวงปีพาทย์มอญ โดยทำหน้าที่บรรเลงหยอกล้อไปกับระนาดเอก เดินทำนองรองในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยนล้อ ขัดที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์ของระนาดทุ้ม |
![]() |
กลองยาว เป็นเครื่องดนตรีสำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว |
แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ :บันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน