ราคามันสำปะหลัง
ราคาหัวมันสด/มันเส้น (นครราชสีมา) 
ราคามันเส้น/โกดังส่งออก (อยุธยา) 
ราคามันเส้น (กรมการค้าภายใน)
การส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด (สภาหอการค้าฯ) 
		
		
ชื่อ Admin

รหัสผ่าน :


 
 
 
 
 




มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ สำหรับปลูกปลายฝน

อังคาร ที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2551


มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ สำหรับปลูกปลายฝน

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 6.7 ล้านไร่ มีการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนกันมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก คิดเป็นเนื้อที่ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด สำหรับการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนเกษตรกรมักนิยมปลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินทราย และดินร่วนปนทราย ดินเหนียวมีข้อจำกัดในด้านความชื้นของดินขณะปลูกมีผลให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของท่อนพันธุ์ต่ำ การปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนในดินทรายหรือดินร่วนปนทรายในระยะของการเจริญเติบโตจะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง ประมาณ 5 เดือน มันสำปะหลังสามารถใช้น้ำจากน้ำใต้ดินได้ในรูปน้ำซับ (capillary water) แต่ถ้าปลูกในดินเหนียว มันสำปะหลังมักแห้งตายหรือหยุดชงักการเจริญเติบโตในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากการขาดน้ำ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตมาก นอกจากนี้ การปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการกำจัดวัชพืชและลดการชะล้างพังทลายของดินเมื่อเทียบกับการปลูกต้นฤดูฝน ดังนั้น มันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสดสูง และทนทานต่อสภาพแล้งแล้งได้ดี ควรเป็นพันธุ์ที่เหมาะที่จะแนะนำให้เกษตรกรปลูกในช่วงปลายฤดูแล้ง


สถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามของประเทศ รองจากข้าว และยางพารา จุดเด่นของมันสำปะหลังในด้านการค้าของตลาดโลกเวลานี้ก็คือเป็นพืชไร่ที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาด จนได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าสีเขียว (green product) และเป็นพืชที่ไม่มีการตัดต่อสารทางพันธุกรรม (non-GMOs) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกที่สำคัญ คือ มันอัดเม็ด มันเส้น และแป้ง ปัจจุบันนี้ แป้งมันสำปะหลัง
ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายประเภท ได้แก่ แป้งที่ใช้บริโภคภายในครัวเรือน แป้งแปรรูป อาหาร กรดมะนาว ผงชูรส สารให้ความหวาน สิ่งทอ ไม้อัด กาว พลาสติกย่อยสลายง่าย สารโพลิเมอร์ดูดน้ำมาก กระดาษ ไซโคลเดร็กตริน วัสดุก่อสร้าง และแป้งเพื่อสุขภาพ (resistance starch) ในอนาคตมีลู่ทางในการนำหัวสดมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นไบโอดีเซลเพื่อทดแทนพลังงานน้ำมันมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ผ่านมาประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท


ผลการค้นคว้าวิจัย
มันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง CMR30-71-25 กับ OMR29-20-118 เมื่อปี 2535ได้ผ่านการคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 เข้าเปรียบเทียบเบื้องต้น มาตรฐาน ในท้องถิ่น ไร่เกษตรกร และทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรจำนวนแปลงทดลอง 23 แปลง พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งในหัวสดหรือเชื้อแป้งมากที่สุด โดยให้ผลผลิตหัวสด 5,761 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 28.8 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตแป้ง 1,659 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72 พบว่าพันธุ์ CMR35-48-196 ให้ผลผลิตแป้งสูงกว่า 29 16 และ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (ตารางที่ 1)


ตารางที่ 1ผลผลิตหัวสด ปริมาณแป้งในหัวสดผลผลิตแป้ง และผลผลิตมันเส้นของมันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72
พันธุ์
ปริมาณแป้ง
ผลผลิต (กิโลกรัมต่อไร่)
เปรียบเทียบผลผลิต (%)
ในหัวสด (%)
หัวสด
แป้ง
มันเส้น
แป้ง
มันเส้น
1. ระยอง 8
2. เกษตรศาสตร์
50
3. ระยอง
72
4. CMR35-48-196
24.6
25.9
25.0
28.8
4,843
5,438
4,989
5,761
1,191
1,408
1,247
1,659
1,748
2,012
1,815
2,252
72
84
75
100
78
89
80
100
หมายเหตุ : เฉลี่ยจากแปลงทดลอง จำนวน 23 แปลง

มันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 เป็นพันธุ์ที่ให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของท่อนพันธุ์สูงเมื่อปลูกในช่วงปลายฤดูฝน และเจริญเติบโตได้ดีในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1 - 3 เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูแล้งเมื่อเปรียบเทียบกับทุกพันธุ์ นอกจากนี้ พันธุ์ CMR35-48-196 มีลำต้นที่แตกออกจากท่อนปลูกจำนวน 3 ลำต้น (main stem) แตกต่างจากพันธุ์ทั่วไปซึ่งมีลำต้น 1 - 2 ลำต้นเท่านั้น

การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย
จากข้อมูลดังกล่าว และมีการทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกร จำนวน 20 แปลทดลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ในปี 2545 - 46 เพื่อยืนยันข้อมูลเดิม ถ้าข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันกับผลการทดลองที่ผ่านมา คาดว่าเสนอเข้ารับรองพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร ใน ปี 2547 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูกในช่วงปลายฤดูฝน ต่อไป

แผนการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในอนาคต
ในปี 2548 จะดำเนินการขยายพันธุ์ในศูนย์บริการวิชาการ และปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทุกแห่งในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย และโรงงานแป้งและมันเส้น เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อไป


ลักษณะประจำพันธุ์ CMR35-48-196
1. ยอดอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล ใบแก่สีเขียว
2. ก้านใบสีเขียวอ่อนปนแดง
3. ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน โค้งเล็กน้อยสูงโดยเฉลี่ย ประมาณ 195 เซนติเมตร มี 3 ลำต้นแตกออกจากท่อนปลูก จำนวน 3 ลำต้น (mainstem) แตกต่างจากพันธุ์ทั่วไปซึ่งมีลำต้น 1 - 2 ลำต้นเท่านั้น ลำต้นแต้ละลำต้นไม่มีการแตกกิ่ง
4. เนื้อภายในหัวสีขาว เปลือกนอกสีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
1. ผลผลิตและเชื้อแป้งในหัวสูงทุกพันธุ์ ผลผลิตหัวสด 5.76 ตันต่อไร่ เชื้อแป้งในหัว 28.8 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตแป้ง 1.66 ตันต่อไร่ ผลผลิตมันเส้น 2.25 ตันต่อไร่
2. แตกพุ่มใบในระยะเริ่มต้น (establishment stage) และระยะฟื้นตัวหลังจากผ่านฤดูแล้ง (recovery stage) ได้เร็วกว่าพันธุ์แนะนำทุกพันธุ์
3. เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกปลายฤดูฝน



ข้อจำกัดของพันธุ์
ลักษณะของต้นเตี้ย ได้ปริมาณต้นพันธุ์น้อย ต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลาง