ราคามันสำปะหลัง
ราคาหัวมันสด/มันเส้น (นครราชสีมา) 
ราคามันเส้น/โกดังส่งออก (อยุธยา) 
ราคามันเส้น (กรมการค้าภายใน)
การส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด (สภาหอการค้าฯ) 
		
		
ชื่อ Admin

รหัสผ่าน :


 
 
 
 
 




มันสำปะหลังแป้งสูงพันธุ์ใหม่ “ระยอง 7”

อังคาร ที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2551


มันสำปะหลังแป้งสูงพันธุ์ใหม่ ระยอง 7”

การปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย เกษตรกรมักนิยมปลูกทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน โดยปลูกต้นฤดูฝนมากกว่าปลายฤดูฝน ปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าการปลูกปลายฤดูฝน (กันยายน-พฤศจิกายน) จะเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นเนื้อที่ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด (ศูนย์สถิติการเกษตร , 2547) ที่ผ่านมายังไม่มีการพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกปลายฝนและสามารถปลูกต้นฤดูฝนได้ดีด้วย โดยพันธุ์ดังกล่าวต้องให้ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสดสูงกว่าพันธุ์รับรองที่เกษตรกรนิยมปลูก เป็นพันธุ์ที่งอกเร็ว ให้เปอร์เซ็นต์ความงอกและอยู่รอดสูง เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอายุ 1-2 เดือนหลังปลูก ซึ่งในขณะนั้นดินยังมีความชื้นอยู่ และสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อได้รับน้ำฝนอีกครั้งหลังจากผ่านช่วงฤดูแล้งอันยาวนาน นอกจากนี้พันธุ์ดังกล่าวต้องมีทรงต้นดี ไม่หักล้ม และไม่แตกกิ่งหรือแตกกิ่งในระดับที่สูง เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวของเกษตรกร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองได้พัฒนามันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 ให้มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นและเสนอต่อกรมวิชาการเกษตรเพื่อเป็นพันธุ์รับรอง โดยตั้งชื่อว่ามันสำปะหลังพันธุ์ “ระยอง 7”
 
ประวัติการปรับปรุงพันธุ์
มันสำปะหลังพันธุ์ CMR35-48-196 ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ CMR30-71-25 กับพันธุ์ CMR29-20-118 ในปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้ผ่านการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยระยะเวลาตั้งแต่ปี 2535-2547 รวม 12 ปี เสนอขอรับรองพันธุ์ต่อกรมวิชาการเกษตรในปี 2548 โดยใช้ชื่อมันสำปะหลังพันธุ์ “ระยอง7”
 
ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ตั้งตรง ไม่โค้งงอ และไม่แตกกิ่ง ส่วนใบสีเขียวอ่อน ใบกลางคล้ายรูปหอก ใบยอดสีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอ่อนปนแดง ส่วนหัวมีเปลือกสีครีม เนื้อหัวสีขาว และไม่มีก้านหัว ความสูงของลำต้น 180 เซนติเมตร มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชีวเคมีของหัวสด และคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของแป้ง ดังรายละเอียดในตารางที่ 1-3
 
 ตารางที่ 1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 เมื่อเทียบกับพันธุ์ ระยอง 1 ระยอง 90 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72
ลักษณะ
ระยอง 1
ระยอง 5
เกษตร
ศาสตร์ 50
ระยอง
72
ระยอง 7
สีลำต้น
เขียวเงิน
เขียวเงิน
เขียวเงิน
เขียวเงิน
น้ำตาลอ่อน
ความสูง (ซม.)
215
177
210
200
183
จำนวนระดับแตกกิ่ง
0-1
2-3
0-1
1-2
0-1
ความสูงกิ่งแรก (ซม.)
-
100-120
-
130-140
-
มุมของกิ่ง (องศา)
45-60
60-75
75-90
60-75
75-90
สีก้านใบ
เขียวม่วง
ม่วง
เขียวแก่
ม่วง
เขียวอ่อน
ความยาวก้านใบ (ซม.)
25-30
25-30
25-30
25-30
25-30
ลักษณะใบกลาง
ใบหอกรี
ใบหอก
ใบหอก
ใบหอก
ใบหอก
สีใบแรกที่เจริญเต็มที่
ม่วงเขียว
เขียวแก่
ม่วงเขียว
เขียวแก่
เขียวอ่อน
สียอดอ่อน
ม่วง
ม่วงเขียว
ม่วง
ม่วง
เขียวอ่อน
สีเปลือกหัว
ครีม
ชมพู
ครีม
ชมพู
ครีม
สีเนื้อหัว
ขาว
ขาว
ขาว
ขาว
ขาว
ก้านหัว
สั้น
ไม่มี
สั้น
สั้น
ไม่มี
จำนวนลำต้นต่อหลุม
1-2
1-2
1-2
1-2
2-4

ลักษณะ
ระยอง 1
ระยอง 5
ระยอง 90
เกษตร
ศาสตร์ 50
ระยอง 72
ระยอง 7
ไขมัน (%)
0.203
0.205
0.155
0.239
0.207
0.194
โปรตีน (%)
2.706
2.470
2.217
2.860
2.677
2.784
เส้นใย (%)
2.409
2.001
1.988
1.977
1.969
2.115
อะมิโลส (%)
20.32
20.59
20.51
21.03
21.62
21.94
ไซยาไนด์ (%)
123
124
86
128
90
86
ฟินอลลิก (%)
0.1194
0.1090
0.1193
0.1357
0.1194
0.1102
แป้งที่สกัดได้ (%)
17.12
18.32
15.72
18.72
18.14
19.80
คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของแป้ง
ตารางที่ 3 คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของแป้งมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 เมื่อเทียบกับพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 90 ระยอง 50 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72
ลักษณะ
ระยอง 1
ระยอง 5
ระยอง 90
เกษตร
ศาสตร์ 50
ระยอง 72
ระยอง 7
Pasting emperature (0c)
65.90
64.48
67.73
68.13
66.95
66.58
Peak viscosity (BU)
498
568
532
525
525
530
Final viscosity (BU)
323
414
396
362
367
404
Trough viscosity (BU)
223
255
249
227
226
250
Breakdown (BU)
175
313
283
298
299
280
Setback (BU)
148
159
113
135
141
154
 
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
1. ปลูกปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝนได้ดี โดยให้ความงอกเร็วมาก ประมาณ 5 วันหลังปลูกในขณะที่พันธุ์ทั่วไปใช้เวลางอก ถึง 14 วันหลังปลูก
2. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานที่เกษตรกรนิยมปลูกทุกพันธุ์ โดยให้ผลผลิตหัวสด 6.30 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิตแป้ง 1.77 ตันต่อไร่ และให้ผลผลิตมันเส้น 2.43 ตันต่อไร่
3. ให้ปริมาณแป้งในหัวสดสูงกว่ามาตรฐานที่เกษตรกรนิยมปลูกทุกพันธุ์ โดยให้ปริมาณแป้งในหัวสด 27.6 เปอร์เซ็นต์
4. เมื่อใช้หัวสดเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ให้ปริมาณเอทานอลมากกว่า 1,026 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 90 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72
 
ตารางที่ 4 ผลผลิต (ตันต่อไร่) และปริมาณแป้งในหัวสด (%) ของมันสำปะหลังพันธุ์ ระยอง 7 เปรียบเทียบกับระยอง 90 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72 เมื่อปลูกปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน 1
พันธุ์
ปริมาณแป้งในหัวสด
ผลผลิตหัวสด
ผลผลิตแป้ง
ผลผลิตมันเส้น
ปลายฝน
ต้นฝน
ปลายฝน
ต้นฝน
ปลายฝน
ต้นฝน
ปลายฝน
ต้นฝน
ระยอง 7
27.6
27.2
6.30
6.36(100)
1.77
1.73(100)
2.43
2.36(100)
ระยอง 90
26.8
25.8
5.26
5.14(83)
1.42
1.33(80)
1.99
1.91(81)
ระยอง 5
24.7
25.0
5.36
5.27(85)
1.33
1.32(75)
1.95
1.92(81)
เกษตรศาสตร์ 50
26.1
24.4
5.48
5.98(87)
1.45
1.51(82)
2.05
2.19(93)
ระยอง 72
22.5
22.9
5.55
5.81(88)
1.25
1.33(71)
1.92
2.05(87)
ที่มา : เฉลี่ยจากงานเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรปี 2541-47 จำนวน 46 แปลง
หมายเหตุ : ตัวเลขภายในวงเล็บแสดงเปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 7
ข้อควรระวัง
ถ้าปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเกิดภาวะแล้งยาวนาน หลังจากได้รับน้ำฝนจะเกิดการแตกตาตามลำต้นมากกว่าในสภาพปกติ ดังนั้น การนำลำต้นดังกล่าวไปเป็นท่อนพันธุ์ ควรปลูกในขณะที่ดินมีความชื้นสูง จะได้ต้นมันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดสูงเหมือนกับใช้ท่อนพันธุ์สภาพปกติ
 
พื้นที่และคำแนะนำในการปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม
1. สามารถปลูกได้ทุกแหล่งปลูกมันสำปะหลังของประเทศ โดยปลูกได้ดีทั้งการปลูกปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝน พันธุ์นี้เหมาะสำหรับดิน 3 ชนิด คือ ดินเหนียว ดินเหนียวร่วนปนทราย และดินร่วนปนทราย ที่มีหน้าดินลึก

2. ควรเตรียมดินให้ลึก ยกร่องปลูก โดยทั่วไป ดินเหนียวหรือดินร่วนปนทรายใช้ระยะ แถว 100 เซนติเมตร ระยะต้น 100 เซนติเมตร ส่วนดินร่วนปนทรายใช้ระยะแถว 100 เซนติเมตร ระยะต้น 50 เซนติเมตร

3. การดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว ควรใช้ปุ๋ยมูลไก่ผสมแกลบอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านก่อนการเตรียมดินแล้วไถกลบ สำหรับการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ควรใช้สูตร 15-7-18 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุได้ 30 วันหลังปลูก การกำจัดวัชพืชโดยแรงงานคนที่อายุ 30 และ60 วันหลังปลูก หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราครอท อัตรา 80 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ พ่นเมื่ออายุ 30 วันหลังปลูก สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดได้ตั้งแต่อายุ 10-16 เดือนหลังปลูก
 
เอกสารอ้างอิง
ศูนย์สถิติการเกษตร. 2547. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปีการเพาะปลูก 2546-47. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 356 น.

------------------------------------


โอภาษ บุญเส็ง, เสาวรี ตังสกุล
เมธี คำหุ่ง, สุชาติ คำออน
สุรนัย รัมมะฉัตร, ดนัย ศุภาหาร
ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์ และจักรพรรดิ วุ้นสีแซง
ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร
ผู้เขียน

คุณสมบัติทางชีวเคมีของหัวสด
ตารางที่ 2 คุณสมบัติทางชีวเคมีของหัวสดมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 เมื่อเทียบกับพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 90 ระยอง 90 ระยอง 5 เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72
คำนำ