ตะกั่วและสารหนูในมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง พืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ปลูกและดูแลรักษาง่ายให้ผลผลิตเร็ว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งและโรคสูง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในพื้นที่ที่ปลูกพืชชนิดอื่นไม่ได้ผล เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยประมาณ 6-7 ล้านไร่ มีผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดปีละ 18-20 ล้านตัน ทำรายได้ให้เกษตรกรรวมถึงแรงงานและผู้เกี่ยวข้องในภาคการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ (กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 2547) ส่งผลถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
มันสำปะหลังนอกจากใช้บริโภคโดยตรงแล้วยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร สารให้ความหวาน ผงชูรส สิ่งทอ กระดาษ ยารักษาโรค กาว ไม้อัด วัสดุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ กรดมะนาว เป็นต้น
มันแห้ง มันเส้น และมันอัดเม็ด ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์และนำไปแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล)
นอกจากนี้ใบมันสำปะหลังยังใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีน สารสีในอาหารไก่ไข่ เหง้ามันสำปะหลังใช้เผาเป็นถ่านเพื่อทำเชื้อเพลิงให้ความร้อนสูงและไร้ควัน ส่วนกากแป้งมันสำปะหลังใช้อัดแท่งทำเชื้อเพลิง ทำปุ๋ยหมัก และใช้เพาะเห็ด
ตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจะผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่
แป้งมันสำปะหลัง ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่งไปจำหน่ายมากกว่า 120 ประเทศทั่วโลก มีตลาดหลักที่สำคัญ คือ ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย จีน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง ส่วนความต้องการภายในประเทศมีไม่ต่ำกว่า 8 แสนตัน/ปี เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไปและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
ส่วนมันแห้ง มันเส้น และมันอัดเม็ด ตลาดสำคัญได้แก่ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส เบลเยี่ยม เยอรมันนี สเปน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี
ปัญหาการส่งออก
จากการที่สำนักงานควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ตรวจมันสำปะหลังของไทยที่ส่งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่ามีปริมาณตะกั่วและสารหนูเกินมาตรฐานที่จีนกำหนดไว้ คือให้ปริมาณตะกั่วพบได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณสารหนูพบได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหานี้ขึ้นอีกในอนาคต กรมวิชาการเกษตรได้ให้ทางด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของบริษัทผู้ผลิตและส่งออกต่างๆ ที่จะส่งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกง ให้ทางห้องปฏิบัติการสารปนเปื้อน กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ทำการวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่ว และวิเคราะห์หาปริมาณสารหนู พร้อมทั้งรายงานผลให้สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรทราบ
การปนเปื้อนตะกั่วและสารหนู
จากการวิเคราะห์ตะกั่วและสารหนูในมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนมกราคม 2547 จำนวน 399 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 798 รายการ ได้แสดง % ของตัวอย่างในระดับที่มีการปนเปื้อนตะกั่วและสารหนู ตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2
ตารางที่ 1 การปนเปื้อนตะกั่วในมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
ประเภท
|
จำนวน
|
ปริมาณที่พบ
|
ค่ากำหนด
|
% ของตัวอย่างในระดับที่มีการปนเปื้อนตะกั่ว
|
มันสำปะหลัง
|
ตัวอย่าง
|
มิลลิกรัม/กิโลกรัม
|
ไม่พบ
|
<0.05
|
<0.1
|
< 0.4
|
<1.0
|
<1.5
|
มันสด
|
3
|
<0.04 – 0.07
|
0.4
|
|
67
|
100
|
|
|
|
แป้งมัน
|
383
|
ไม่พบ – 0.12
|
0.4
|
55
|
93
|
99.7
|
100
|
|
|
มันแห้ง
|
8
|
0.06 – 1.16
|
0.4
|
|
|
25
|
75
|
88
|
100
|
มันเส้น
|
4
|
0.06 – 0.31
|
0.4
|
|
|
50
|
100
|
|
|
มันอัดเม็ด
|
1
|
0.78
|
0.4
|
|
|
|
|
100
|
|
ตารางที่ 2 การปนเปื้อนสารหนูในมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
ประเภท
|
จำนวน
|
ปริมาณที่พบ
|
ค่ากำหนด
|
% ของตัวอย่างในระดับที่มีการปนเปื้อนสารหนู
|
มันสำปะหลัง
|
ตัวอย่าง
|
มิลลิกรัม/กิโลกรัม
|
ไม่พบ
|
<0.05
|
<0.1
|
< 0.7
|
<1.0
|
<1.5
|
มันสด
|
3
|
0.002 – 0.004
|
0.7
|
|
100
|
|
|
|
|
แป้งมัน
|
383
|
ไม่พบ – 0.02
|
0.7
|
91
|
100
|
|
|
|
|
มันแห้ง
|
8
|
ไม่พบ – 0.07
|
0.7
|
38
|
88
|
100
|
|
|
|
มันเส้น
|
4
|
0.01 – 0.24
|
0.7
|
|
75
|
|
100
|
|
|
มันอัดเม็ด
|
1
|
0.30
|
0.7
|
|
|
|
100
|
|
|
คุณภาพของมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลังสดและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง มันสำปะหลังแห้ง มันสำปะหลังเส้น และมันสำปะหลังอัดเม็ด พบว่ามีการปนเปื้อนตะกั่วและสารหนู และเมื่อพิจารณากับมาตรฐานจีนที่ได้กำหนดปริมาณสูงสุดของตะกั่วและสารหนูที่ยอมให้ตรวจพบได้ในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง คือให้ปริมาณตะกั่วตรวจพบได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณสารหนูตรวจพบได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เฉพาะมันสำปะหลังแห้ง และมันสำปะหลังอัดเม็ดพบว่าตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐานจีน ส่วนการปนเปื้อนของสารหนูในมันสำปะหลังสดและผลิตภัณฑ์ไม่พบตัวอย่างใดที่มีปริมาณสารหนูเกินมาตรฐานจีน ตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ผลการพิจารณาคุณภาพของมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
ประเภท
|
ชนิดโลหะหนัก
|
จำนวน
|
ปริมาณที่พบ
|
จำนวนตัวอย่างที่มีปริมาณ
|
มันสำปะหลัง
|
|
ตัวอย่าง
|
มิลลิกรัม/กิโลกรัม
|
โลหะหนักเกินมาตรฐานจีน
|
มันสด
|
ตะกั่ว (Pb)
|
3
|
<0.04 – 0.07
|
-
|
|
สารหนู (As)
|
3
|
0.002 – 0.004
|
-
|
แป้งมัน
|
ตะกั่ว (Pb)
|
383
|
ไม่พบ – 0.12
|
-
|
|
สารหนู (As)
|
383
|
ไม่พบ – 0.02
|
-
|
มันแห้ง
|
ตะกั่ว (Pb)
|
8
|
0.06 – 1.16
|
2
|
|
สารหนู (As)
|
8
|
ไม่พบ – 0.07
|
-
|
มันเส้น
|
ตะกั่ว (Pb)
|
4
|
0.06 – 0.31
|
-
|
|
สารหนู (As)
|
4
|
0.01 – 0.24
|
-
|
มันอัดเม็ด
|
ตะกั่ว (Pb)
|
1
|
0.78
|
1
|
|
สารหนู (As)
|
1
|
0.30
|
-
|
การปนเปื้อนของตะกั่ว และสารหนูมีความสำคัญมากต่อคุณภาพของมันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตะกั่วและสารหนูมีความเป็นพิษต่อร่างกาย ผลการวิเคราะห์พบว่ามันสำปะหลังสดและแป้งมันสำปะหลังมีระดับการปนเปื้อนตะกั่วและสารหนูน้อยกว่ามันสำปะหลังแห้ง มันสำปะหลังเส้น และมันสำปะหลังอัดเม็ด และยังพบว่ามันสำปะหลังแห้งที่เก็บมาวิเคราะห์มีการปนเปื้อนของดินติดมากับผลิตภัณฑ์ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตรวจพบระดับตะกั่วสูงเกินมาตรฐาน ดังนั้นการปนเปื้อนของตะกั่วและสารหนูในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังพบว่าอาจมาจากดิน เพราะในดินมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม โคบอลต์ โครเมียม ทองแดง และปรอท เป็นต้น (พิชิต พงษ์สกุล 2542) ดังนั้นในกระบวนการผลิตมันสำปะหลังแห้ง รวมทั้งมันสำปะหลังเส้น มันสำปะหลังอัดเม็ด และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่นๆ จำเป็นต้องทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังให้ปราศจากดินก่อนทำการแปรรูปทุกครั้ง
-------------------------------
กุลวิไล สุทธิลักษณวนิช
อภิวัฒน์ ยศวัฒน
ผู้เขียน
|