1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการนำมันสำปะหลังไปใช้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น แป้ง มันสำปะหลังดัดแปร (Modified Starch) ผงชูรส กระดาษ ไม้อัด กลูโคส และอาหารสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้มันสำปะหลังยังนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นหลายอย่าง เช่น นำไปผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน และผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเส้นใย สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีความหลากหลายในพฤติกรรม และเป็นพืชที่ต้องใช้ปุ๋ยในดินเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเกษตรกรทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้พันธุ์ที่เหมาะสม การบำรุงดิน การเพาะปลูก และการจัดการทั่วไป จึงมีผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ลดต่ำลงเรื่อยมา
จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลังมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 25 ของประเทศไทย ในพื้นที่ประมาณ 1 ล้าน 5 แสนไร่ และอาจเพิ่มเป็น 2 ล้านไร่ได้ ในอนาคต เมื่อความต้องการมีมากขึ้น พื้นที่รองรับการผลิตของเกษตรกรมีจำกัด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ก้าวหน้า เพื่อเพิ่มผลผลิ ตมันสำปะหลังต่อไร่
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักวิชาการเกษตร และนักส่งเสริมการเกษตร ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง จึงได้กำหนดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง” ขึ้น โดยมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นผู้ให้คำแนะนำ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ ดิน ปุ๋ย การจัดการเพื่อการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ให้กับบุคลากรด้านการส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะให้ดีขึ้น
2. สามารถนำไปถ่ายทอดและแนะนำให้กับเกษตรกรสามารถทำการปลูกมันอย่างถูกวิธี สามารถลดต้นทุนในการผลิต ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของตลาด
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
3. กลุ่มเป้าหมาย
นักวิชาการเกษตรประจำองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และอำเภอต่างๆ
4. หัวข้อการอบรม
· พันธุ์และการเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
· การจัดการดินเพื่อการปลูกมันสำปะหลังที่ยั่งยืน
· ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยในมันสำปะหลัง
· การจัดการแปลงปลูกมันสำปะหลัง
· ปัญหาที่พบและการแก้ไขปัญหา
5. วิทยากร :
· อาจารย์ ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง
· ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู ขำเลิศ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
6. ระยะเวลาการฝึกอบรม
2 วัน (รวม 12 ชั่วโมง)
7. วันที่จัด
วันที่ 11 – 12 กันยายน 2551
8. จำนวนที่รับ
จำนวน 30 – 40 คน
9. วิธีการอบรม
- การบรรยาย
- ศึกษาดูงานแปลงเกษตรกรที่ได้รับความสำเร็จ
10. สถานที่จัดอบรม
อาคารสุรพัฒน์ 1 เทคโนธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี