ราคามันสำปะหลัง
ราคาหัวมันสด/มันเส้น (นครราชสีมา) 
ราคามันเส้น/โกดังส่งออก (อยุธยา) 
ราคามันเส้น (กรมการค้าภายใน)
การส่งออกมันเส้น/มันอัดเม็ด (สภาหอการค้าฯ) 
		
		
ชื่อ Admin

รหัสผ่าน :


 
 
 
 
 




เศรษฐกิจพอเพียงของผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา จากการใช้หินฝุ่นทดแทนปุ๋ยเคมี

อังคาร ที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ.2551


 

เศรษฐกิจพอเพียงของผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา จากการใช้หินฝุ่นทดแทนปุ๋ยเคมี

(Sufficient economy of cassava growers in Nakhon Ratchasima Province using partially grinded limestone in complementary with chemical fertilizers)

เรณู ขำเลิศ1 และ อัศจรรย์ สุขธำรง1 (Renu Khumlert1, Aschan Sukthumrong1)

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี1

School of Crop Production Technology, Institute of Agricultural Technology, Suranaree University of Technology1

บทคัดย่อ

                ประชากรมากกว่า 110,000 ครอบครัว หรือ 484,000 คน ในจังหวัดนครราชสีมา มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ ผลผลิตหัวสดของมันสำปะหลังในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2548 ในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่ 2.1-2.7 ตันต่อไร่ แม้ว่าจะมีพันธุ์ส่งเสริมใหม่ ๆ ออกมา และกระจายไปสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องทั้งจังหวัดก็ตาม ในขณะนั้นราคาของหัวสดมันสำปะหลังก็ต่ำมาก ระหว่าง 0.6-1.2 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งทำให้ผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้ต่ำหรือประสบกับการขาดทุนเสมอมา และบางครอบครัวก็โยกย้ายเข้าไปหางานในเมืองใหญ่ทอดทิ้งเด็กและคนชราไว้เบื้องหลังในขณะที่รอคอยฤดูเก็บเกี่ยวที่ยังมาไม่ถึง

                ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2547 คณะผู้วิจัยได้ทำการทดลอง เปรียบเทียบผลผลิตมันสำปะหลังโดยใช้หินฝุ่นซึ่งเป็นผลพลอยได้จากโรงโม่หินปูนมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี โดยปลูกในฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ผลการทดลองปรากฏว่าผลผลิตของพันธุ์ส่งเสริมอยู่ที่ 11-12 ตันต่อไร่ และสำหรับพันธุ์ลูกผสมใหม่อยู่ที่ 9-15 ตันต่อไร่ ต่อมาในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2548-มีนาคม 2550 สำนักงานจังหวัดนครราชสีมาได้เห็นความสำคัญของงานวิจัยและให้การสนับสนุนการทดลองถ่ายทอดผลการวิจัยนี้ ลงสู่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 30 ราย โดยความร่วมมือของสมคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลที่ได้รับมีความหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ร่วมโครงการที่เป็นเกษตรกรที่ดี สามารถยกระดับผลผลิตของตนเองได้จาก 2-3 ตันต่อไร่ ขึ้นสู่ระดับ 6-9 ตันต่อไร่ และสามารถลดค่าใช้จ่ายจากกิโลกรัมละ 0.80-0.85 บาท ลงมาที่ 0.65-0.70 บาท และสามารถเพิ่มกำไรจากประมาณ 500-1,000 บาท ต่อไร่ขึ้นไปเป็น 2,200-5,000 บาทต่อไร่ ซึ่งทำให้อาชีพปลูกมันสำปะหลังเริ่มกลายเป็นอาชีพที่มั่นคงและมีอนาคตที่สดใสขึ้น ผู้ปลูกมันสำปะหลังจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะมีความพอเพียงอย่างยั่งยืน ถ้าราคาหัวสดมันสำปะหลังไม่ลดลงไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ABSTRACT

                More than 110,000 families or 484,000 people live on growing cassava in Nakhon Ratchasima province in the area of about 2 million rais. During year 1995 to 2005, yield of fresh cassava root in Nakhon Ratchasima province were ranged from 2.1 to 2.7 tons/rai although several new improved varieties were released and scattered throughout the province. The prices of fresh roots were very low, ranged from 0.6 to 1.2 baht/kg resulted in very low income for cassava growers, and most of them migrated in to the cities searching for jobs, leaving children and old people behind while waiting for harvesting season.

                During year 2003 to 2004 , an experiment on comparative yield trials using  “Hinfoon”  a by-product from limestone milling factory in complementary with chemical fertilizer was held in Suranaree University of Technology. The experiment yields were ranged from 11-12 tons/rai for the released varieties and 9-15 tons/rai for new promising hybrids. During November 2005 to March 2007 the  Nakhon Ratchasima  Office of Governer Office, concerning the importance of cassava research, and under cooperation with Northeastern Tapioca Trade Association, had granted CEO Budget for further researches for transferring the new technology to more than 30 cassava growers. Results were various, however, most of the good growers in the project were capable of increasing their yields from 2-3 tons/rai to 6-9 tons/rai and could reduce the cost of operation from 0.8-0.85 baht/kg down to 0.65-0.7 baht/kg this allowed them to increase their profit from about 500-1,000 baht/rai to be 2,200 baht/rai to 5,000 baht/rai., Csddava growing career now become reliable and promising. The growers can live sufficiently and happily, assuming the prices of cassava roots are not lower than they are in the present.

 1) บทนำ

                จังหวัดนครราชสีมาเป็นส่วนหนึ่งในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน มีความแห้งแล้งทุรกันดารไม่สามารถขุดบ่อหรือสร้างอ่างเก็บน้ำได้เหมือนพื้นที่ในภาคกลางและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของจังหวัดยังต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ความเสียหายของพืชผลจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ ทำให้เกษตรกรจำนวนประมาณ 484,000 คนหรือมากกว่า 110,000 ครอบครัว เปลี่ยนมามีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชที่เหมาะกับที่ดอน ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ถึงกระนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาน้อย ก็ยังได้ผลผลิตหัวสดของมันสำปะหลังต่ำมากในระดับ 1-3 ตันต่อไร่ จึงมีรายได้ไม่เพียงพอ ยกจน เป็นหนี้ และพึ่งพาตนเองไม่ได้ และบางครอบครัวก็โยกย้ายเข้าไปหางานในเมืองใหญ่ทอดทิ้งเด็ก และคนชราไว้เบื้องหลังในขณะที่รอคอยฤดูการเก็บเกี่ยวที่ยังมาไม่ถึง สภาวะเหล่านี้เป็นสิ่งที่โน้มนำให้ประชากรหลายส่วนในจังหวัดนครราชสีมามีความเป็นอยู่ในลักษณะไม่พอเพียง บ้านแตกสาแหรกขาด มีความทุกข์ยาก ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมที่รอคอยการแก้ไข

                จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2538-2548 จะเห็นว่า ผลผลิตเฉลี่ยของหัวสดมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา อยู่ที่ประมาณ 2.1-2.7 ตันต่อไร่ แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดี หรือพันธุ์ส่งเสริมใหม่ ๆ ออกมามากกว่า 5 พันธุ์ กระจายไปสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องทั้งจังหวัดก็ตาม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ในระยะนั้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ราคาของหัวสดมันสำปะหลังในช่วงนั้นอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 0.80-0.85 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้ผู้ปลูกส่วนมากมีกำไรสุทธิต่ำ หรือประสบกับการขาดทุนเสมอมา อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ก็ยังไม่ละทิ้งอาชีพนี้ เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกเวลา เมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 ถึง 20 เดือน จึงสามารถเลือกเวลาขุดให้ตรงกับช่วงที่มีราคาดีได้ อีกทั้งผลผลิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่ไม่เกินเกณฑ์โดยเปอร์เซ็นต์แป้งยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประกอบกับในระยะหลัง ๆ มีการนำหัวสดและแป้งมันสำปะหลังไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีโรงแป้งและลานมันเกิดขึ้นมากมาย และยังมีโรงงานผลิตเอทานอลได้เริ่มเกิดขึ้นบ้าง จึงทำให้ราคาหัวสดของมันสำปะหลังดีขึ้นอยู่ในระดับ 0.8-1.8 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ราคาก็ยังอยู่ในสภาพที่มีความแปรปรวนสูง และยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับเกษตรกรที่มีผลผลิตหัวสดต่อไร่ต่ำ และยังต้องกู้ยืมซึ่งทำให้มีโอกาสขาดทุนและเป็นหนี้สินได้ทุกเมื่อ ปัญหาจึงอยู่ที่การทำอย่างไรที่จะทำให้เกษตรกรเหล่านี้ได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน มีกำไรและสามารถพึ่งพาตัวเองได้ตลอดไป

                 ในระหว่างปี พ.ศ. 2546-2547 เมื่อมีเสียงเรียกร้องว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) อยู่ท่ามกลางดงมันสำปะหลัง ควรทำอะไรเพื่อเกษตรกรบ้าง คณะผู้วิจัยโดย ดร. อัศจรรย์ สุขธำรง ดร. เรณู ขำเลิศ และนักศึกษาจำนวนหนึ่งได้ออกไปศึกษาวิธีการปลูกมันสำปะหลัง ระดับการให้ผลผลิต และข้อจำกัดบางประการที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังรอบ ๆ มหาวิทยาลัยได้รับผลผลิตต่ำ ซึ่งพบว่า เกษตรกรรอบ ๆ มทส. ได้รับผลผลิตหัวสดของมันสำปะหลังอยู่ระหว่าง 1-4 ตันต่อไร่ และเกษตรกรมีความเชื่อว่าการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีเท่านั้นที่จะทำให้ได้ผลผลิตของมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ติดต่อ ดร. ศุภชัย สารกาญจน์ ซึ่งเป็นนักวิชาการประจำที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร ขอรับพันธุ์มันสำปะหลังมาปลูกทดสอบ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ต้นพันธุ์มันสำปะหลัง จำนวน 12 พันธุ์ โดยในจำนวนนี้เป็นพันธุ์รับรองจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 72 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 และเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่จำนวน 8 พันธุ์ มาทดลองปลูก พบว่า การปรับปรุงดินด้วยหินฝุ่นร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยมีการจัดการตามขั้นตอนที่ดี ทำให้มันสำปะหลังพันธุ์รับรองทั้ง 4 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้งประมาณ 25-28% และลูกผสมทั้ง 8 สายพันธุ์ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 9-15 ตันต่อไร่ เปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ระหว่าง 22-28% (ตารางที่ 1) ที่ผลงานนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมันสำปะหลังทั้งเป็นพันธุ์รับรอง และพันธุ์ลูกผสมใหม่ที่สามารถให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงได้ภายใต้การปรับปรุงดินที่เหมาะสม

                ในการทดลองดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำหินฝุ่นซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย และราคาถูก กิโลกรัมละ 10-15 สตางค์ จากโรงโม่หินในจังหวัดนครราชสีมา มาเป็นวัสดุที่ให้ธาตุอาหารพืชเพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางส่วน ซึ่งไม่ค่อยมีผู้รู้จักหินฝุ่นนัก จึงขอกล่าวถึงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่าหินฝุ่นคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร โดยหินฝุ่นเป็นสารที่ได้มาจากการนำเอาหินปูนมาบด จึงมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และแมกนีเซียมคาร์บอเนต (Mg CO3) แตกต่างจากปูนขาว ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ และไฮดรอกไซด์ของแคลเซียม และแมกนีเซียม (CaO, MgO  หรือ Ca(OH)2, Mg(OH)2) ทำให้หินฝุ่นไม่มีฤทธิ์เป็นด่างจัดเหมือนปูนขาว และอัตราการละลายน้ำ หรืออัตราการแตกตัวในดินจึงค่อยเป็นค่อยไป จึงไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อปฏิกิริยาดิน และสิ่งมีชีวิตในดินมากนัก แม้จะใส่ลงไปในดินปริมาณค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีผลต่อการสูญเสียธาตุไนโตรเจนจากดินไปในปริมาณต่ำ และช่วยสร้างสมดุลของธาตุอาหารพืชในดิน และในพืชให้ดีขึ้น คือ พืชจะใช้ธาตุอาหารอื่น ๆ ในปริมาณน้อยลงในการสร้างผลผลิตที่เท่ากัน เมื่อมีการใช้หินฝุ่นในปริมาณที่พอเหมาะ ผลจากการใช้หินฝุ่นยังสามารถช่วยยับยั้งการละลายที่เกินพอดีของธาตุเหล็ก อลูมินั่ม และแมงกานีสในดินกรดจัด นอกจากนี้ในหินปูนสระบุรี (Sara Buri Group) ซึ่งปรากฏอยู่ตามของที่ราบสูงโคราช ยังมีสิ่งเจือปนเป็นธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี ฯลฯ ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชทั่วไปต้องการใช้ในปริมาณน้อย หินฝุ่นจากแหล่งนี้จึงเป็นแหล่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้ให้กับดินที่เสื่อมโทรมจากการปลูกมันสำปะหลังมาเป็นเวลาหลายปี ทั้งที่เป็นดินกรดและดินด่าง ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าแปลกใจที่ผลผลิตและคุณภาพของมันสำปะหลัง และพืชอื่น ๆ จะดีขึ้นเมื่อใส่หินปูนฝุ่นลงไปในดินเพียงเล็กน้อยในอัตรา 25-100 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้หินฝุ่นยังช่วยลดความเป็นกรดของดิน ช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้น อุ้มน้ำและระบายน้ำดีขึ้น และช่วยการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ในดินให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

2) การดำเนินการวิจัยและขยายผล

                เพื่อให้เกิดความแน่ใจในการใช้หินฝุ่นในพื้นที่อื่น ๆ คณะผู้วิจัยจึงได้ขอรับการสนับสนุนเงินวิจัยจากสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา โดยในปีงบประมาณ 2549 สำนักงานจังหวัดนครราชสีมาได้จัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้ดำเนินโครงการ การศึกษาวิจัยการพัฒนาผลิตพันธุ์มันสำปะหลัง (การพัฒนาท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพและควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการผลิตท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ การศึกษาคุณสมบัติของหินฝุ่น และขยายผลการใช้หินฝุ่นเพื่อเพิ่มผลผลิตในแปลงของเกษตรกร (ก่อนหน้านี้ในปีงบประมาณ 2548 จังหวัดนครราชสีมา ได้สนับสนุนงบประมาณ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่จำกัดผลผลิตของมันสำปะหลังในพื้นที่ 10 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ที่มีการปลูกมันสำปะหลังมาก)

                ส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหินฝุ่น ซึ่งเป็นวัสดุปรับปรุงดินราคาถูกและหาได้ง่ายในจังหวัดนครราชสีมา โดยการเก็บตัวอย่างจากแหล่งต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา นำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบ และให้คำแนะนำในการนำไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลัง พบว่า องค์ประกอบของหินฝุ่นจาก 10 แหล่งในอำเภอปากช่อง และอำเภอโชคชัยมีความหลากหลาย แต่ทุกแห่งมีระดับของธาตุอาหารพืชหลายธาตุในปริมาณสูงพอที่จะนำไปใช้เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้ และมีระดับของโลหะหนักปนเปื้อนในเนื้อหินในระดับต่ำมาก น่าจะมีความปลอดภัยในการใช้เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทดแทนปุ๋ยเคมีสำหรับมันสำปะหลัง (ตารางที่ 2)

                ในแง่ของการนำความรู้จากงานวิจัยไปขยายผลให้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้จริงนั้น คณะผู้วิจัยได้จัดการฝึกอบรมแก่เกษตรกรใน 10 อำเภอจำนวนกว่า 500 คน และได้ขยายผลการใช้หินฝุ่นโดยการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ของเกษตรกร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการปลูก ดูแลรักษา และประเมินผล ซึ่งได้แบ่งเกษตรกรเป็นกลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่มดังนี้

                1. เกษตรกรภายใต้การนำของโรงแป้งและลานมันที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ราย (ได้รับความร่วมมือจากสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการดำเนินงานร่วมกับโรงงานแป้งและลานมันต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ)

                2. เกษตรกรที่เคยผ่านการฝึกอบรมจาก มทส. และได้นำหินฝุ่นไปใช้แล้วจำนวน 10 ราย

                3. เกษตรกรที่สนใจทั่วไปที่ได้ติดต่อมาโดยตรง และนำหินฝุ่นไปใช้ จำนวน 10 ราย

ทั้งนี้โดยให้เกษตรกรแต่ละรายได้ใช้วัสดุปุ๋ยที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้ร่วมกับหินฝุ่น ภายใต้คำแนะนำของผู้วิจัย

3) ผลการทดลองและวิจารณ์

                ผลการศึกษาในแปลงของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรที่ดี สามารถยกระดับผลผลิตของตนเองได้จาก 2-3 ตันต่อไร่ ขึ้นสู่ระดับ 6-11 ตันต่อไร่ ในช่วงปลูกถึงเก็บเกี่ยว 8-12 เดือน มีเพียงส่วนน้อยที่ผลผลิตไม่สูงขึ้นหรือกลับลดต่ำลง เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำ เพราะยังคุ้นเคยกับวิธีการเก่า ๆ เช่นใช้ระยะปลูกที่ถี่มาก เมื่อได้ปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้นแล้วการปลูกถี่จะทำให้ต้นมันมีการแข็งขันกันสูงมาก และไม่สร้างหัวแต่ใช้อาหารไปสร้างต้นแทนซึ่งการทดลองนี้ได้กระทำในพื้นที่ของเกษตรกรตั่งตาขนาด 1 ไร่ ไปจนถึง 40 ไร่ ข้อมูลที่ได้รับจึงเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปขยายผลได้โดยตรงผลการทดลองนี้ได้ข้อมูลหลากหลายเพราะได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรใช้วัสดุปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาร่วมใช้ในแปลงทดลอง โดยคณะผู้วิจัยเป็นผู้ให้คำแนะนำการปรับเพิ่มลดตามความเหมาะสม นอกจากนี้ทำให้ทราบว่า การใส่หินฝุ่นเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้ปุ๋ยอื่นใดสามารถยกระดับผลผลิตได้ระหว่าง 1-2 ตันต่อไร่ ในขณะที่การใช้หินฝุ่นร่วมกับปุ๋ยเคมีสามารถยกระดับผลผลิตได้ 2-4 ตันต่อไร่ และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีร่วมกับหินฝุ่นสามารถยกระดับผลผลิตได้ 3-6 ตันต่อไร่ (ตารางที่ 3) ที่ผลผลิตเท่าเดิม การใช้หินฝุ่นจะทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 30-60% ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการอื่น ๆ ที่เหมาะสม อย่างไรก็ดีพบว่า เกษตรกรที่ใช้หินฝุ่นร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมจะสามารถลดต้นทุนการผลิตจาก 0.80-0.85 บาทต่อกิโลกรัมหัวมันสด ลงมาที่ 0.65-0.70 บาทต่อกิโลกรัมหัวมันสด และที่ราคาหัวมันสดมันสำปะหลัง 1.25 บาท สามารถมีรายได้สุทธิเพิ่มจากเดิมที่เคยเป็น 500-1,000 บาทต่อไร่ขึ้นไปเป็น 2,200-5,000 บาทต่อไร่

                การฝึกอบรมและการทดลองขยายผลได้ทำให้เกษตรกรใน 10 อำเภอ ที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากทำให้เกิดความตื่นตัวในการนำหินฝุ่นมาใช้อย่างกว้างขวาง เจ้าหน้าที่ของรัฐ โรงงานแป้งมันสำปะหลัง และลานมันตาก ต่างก็หันมาสนับสนุน โดยโรงงานแป้ง และลานมันตากมันหลายแห่งเริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเกษตรกรโดยนำเอาหินฝุ่นมาแจกฟรี หรือจำหน่ายในราคาถูกแก่เกษตรกรที่นำหัวมันสดมาจำหน่ายให้ทางโรงงาน ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดอาชีพใหม่ คือมีผู้นำเอาหินฝุ่นจากโรงโม่หินไปจำหน่ายถึงพื้นที่ของเกษตรกร ทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของหัวมันสดอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง มีผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมาในปี 2549 ขึ้นไปถึงระดับ 3.65 ตันต่อไร่ ซึ่งนับเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญของการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้การเพิ่มของผลผลิตโดยส่วนรวมยังชักนำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หัวมันสดเป็นวัตถุดิบเกิดความมั่นใจ และต่างก็ขยายกำลังการผลิตเป็นการใหญ่ และโยงใยไปถึงคู่ค้าในต่างประเทศที่ใช้แป้ง มันอัดเม็ด และมันเส้นเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมของตน ซึ่งได้มีการขยายการสร้างงานให้กับประชาชนนับหมื่นราย และขยายการรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยขึ้นอย่างมาก จนทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังใน 6 เดือนแรกของปี 2550 นั้นสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2549 เป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ราคาหัวมันสดในประเทศในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2550 สูงขึ้นกว่าระดับ 2.00 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้สถานการณ์นี้สร้างประโยชน์ใหญ่หลวงให้แก่ผู้ปลูกมันสำปะหลัง และเป็นโอกาสให้เกษตรกรจำนวนมากเข้ามาขอรับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการปลูกเลี้ยง และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังจาก มทส. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเกษตรกรเหล่านี้ได้นำความรู้ไปถ่ายทอดต่อญาติสนิทมิตรสหาย และเพื่อนบ้านก็จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่แน่นหนา เพราะมีความรู้อย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรโดยทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีอาชีพ และรายได้มั่นคงพึ่งพาตนเองได้โดยอาศัยวิธีการง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง และได้ผลตอบแทนที่แน่นอน ในท้องถิ่นของตนเองทำให้มีครอบครัวที่อบอุ่นไม่ต้องโยกย้ายไปหากินในถิ่นอื่น นอกจากรี้การใช้หินฝุ่นยังทำให้เกิดความหลากหลายในอาชีพ นับตั้งแต่โรงงานผู้ผลิตหินฝุ่น ผู้ขนส่งหินฝุ่น โรงแป้ง และลานตากมันที่รับหินฝุ่นมาแจกจ่าย การขยายตัวของโรงแป้งลานมัน และอุตสาหกรรมปลายน้ำทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างงานทั้งในประเทศ และประเทศคู่ค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากไทย ซึ่งทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านี้ได้ นอกจากนี้การใช้หินฝุ่นยังช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะทำให้มันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตปลกคลุมพื้นที่ให้มีสีเขียวผ่านช่วงเวลาแห้งแล้งที่ยาวนาน ซึ่งแต่เดิมเกษตรกรจำเป็นต้องขุดมันเพื่อหลีกเลี่ยงความแห้งแล้ง และปล่อยให้ดินว่างเปล่าเกิดสภาพร้อนระอุอย่างสาหัสในระยะเวลาที่ไม่มีต้นมันปลกคลุมตลอดฤดูร้อน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความพอเพียงและเกิดภูมิคุ้มกันอย่างแน่นหนา ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองขนาดเล็กประมาณ 10-20 ไร่ ก็ยังสามารถดำรงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างยั่งยืน โดยการ

ใช้หินฝุ่นทดแทนปุ๋ยเคมีในมันสำปะหลัง

4) สรุป

                ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ได้ร่วมโครงการสามารถผลิตมันสำปะหลังได้ผลผลิตอยู่ในระหว่าง 6-141 ตันต่อไร่ ในระยะเวลาช่วงฤดูปลูก 8-12 เดือน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของตนเองว่ามีมากน้อยเพียงใด และสามารถรักษาระดับของผลผลิตในระดับนี้ไว้ได้อย่างยั่งยืน และมีแนวโน้มจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ การผลิตมันสำปะหลังที่ใช้หินฝุ่นในปริมาณที่พอเหมาะร่วมกับปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง หมายถึงการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตร คือ ความพอประมาณในแง่ของการใช้ปุ๋ยเคมี และหินฝุ่นโดยกรรมวิธีง่าย ๆ ไม่สลัลซับซ้อน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความหลากหลายในอาชีพ นับตั้งแต่โรงโม่หิน ผู้นำเอาหินฝุ่นไปจำหน่ายในราคาถูกแก่เกษตรกร ซึ่งโรงงานแป้ง และลานมันบางแห่งเริ่มนำหินฝุ่นมาให้เปล่า หรือจำหน่ายในราคาถูกแก่เกษตรกร ที่นำหัวมันสดมาจำหน่ายให้ทางโรงงาน ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เริ่มทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเกษตรกรกับโรงแป้ง และลานตากมันที่รับซื้อหัวมัน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์แป้ง มันเส้น และมันอัดเม็ดที่ส่งออกไปต่างประเทศนั้น ก่อให้เกิดการสร้างงานให้กับประชาชนของประเทศคู่ค้านับหมื่นรายด้วย และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสร้างความมั่นใจให้ผู้ส่งออกสามารถรับการสั่งซื้อได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่งผลสะท้อนให้ราคามันสำปะหลังดีขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว และทำให้อาชีพปลูกมันสำปะหลังเริ่มกลายเป็นอาชีพที่มั่นคงและมีอนาคตที่สดใสขึ้น ผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถพึ่งตนเองได้ และมีภูมิคุ้มกันหนาแน่น เพราะรู้จริงในกระบวนการเพิ่มผลผลิต มีตลาดรองรับที่แน่นอนด้วยราคาที่น่ายินดี ซึ่งจะทำให้พ้นหนี้สินจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีครอบครัวที่อบอุ่นไม่ต้องโยกย้ายไปหากินที่อื่น โดยสามารถแบ่งพื้นที่ค่อยทำค่อยไปกระจายแรงงาน กระจายรายได้ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี และไม่จำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังทั้งพื้นที่ เพราะผลผลิตสูงขึ้นกว่าเดิม 2-3 เท่า สามารถกันพื้นที่ไว้ปลูกพืชอื่น ๆ ที่จำเป็นตอการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี

 ตารางที่ 1 ผลผลิต เปอร์เซ็นต์แป้ง ผลผลิตแป้ง น้ำหนักแห้ง และดัชนีการเก็บเกี่ยวของมันสำปะหลังพันธุ์ต่าง ๆ ที่ใช้หินฝุ่นร่วมกับปุ๋ยเคมี ที่ปลูกในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พันธุ์

ผลผลิตหัวสด

(% แป้ง)

ผลผลิตแป้ง/ไร่

น้ำหนักแห้ง

ดัชนีการเก็บเกี่ยว

(กก./ไร่)

 

(kg/rai)

(กก./ไร่)

 

CMR 43-40-82

CMR 43-08-251

CMR 43-39-13

CMR 43-106-355

CMR 43-06-6

CMR 43-08-89

Rayong 5

Rayong 72

Rayong 90

Kasetsart 50

F-test

12,121  b

11,819  b

10,267  bc

10,746  bc

10,900  bc

15,198   a

12,444   b

11,052  bc

11,299  bc

11,054  bc

**

26.5  bcd

24.1  def

27.4  abc

26.3  bcd

25.6  cde

22.0  f

25.8  cde

25.6  cde

29.2  a 

28.7  ab

**

3,216  ab

2,862  ab

2,818  abc

2,797  abc

2,783  abc

3,340  a 

3,215  ab

2,811  abc

3,226  a

3,177  ab

**

4,546  cd

4,235  bc

3,918  abc

3,991  abc

4,009  abc

5,201  d

4,604  cd

4,057  abc

4,474  cd

4,321  bc

**

0.76  cd

0.73  abc

0.74  abc

0.78  cd

0.71  a

0.81  d

0.77  cd

0.81  d

0.76  bc

0.73  ab

**

CV.(%)

12.8

5.9

13.6

12.8

3.8

 หมายเหตุ             1. กลุ่มอักษรเดียวกันในแต่ละคอลัมน์ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ

                                2. แสดงข้อมูลของพันธุ์ที่ได้ผลผลิตสูงกว่า 10 ตันต่อไร่

ตารางที่ 2 แสดงองค์ประกอบของวัสดุธรรมชาติ (หินปูนฝุ่น) จากโรงโม่หินต่าง ๆ ในอำเภอปากช่อง

ชื่อบริษัท/โรงโม่

Total-P

Total-K

Total-Ca

Total-Mg

Total-Zn

Total-Mn

Total-Fe

Total-Cu

B

Na

As

Pb

Cd

Cr

Ni

Hg

%

%

%

%

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

mg kg-1

ug kg-1

ug kg-1

ug kg-1

ug kg-1

ขุมเงินขุมทอง

0.05

0.02

59.86

2.24

15.4

310.0

1,110

1.9

2.5

32

717.2

50.1

12.2

10.9

32.5

155.0

โรงโม่พรพิรุณ

0.05

0.02

63.25

0.57

24.6

45.8

3,418

2.8

7.5

44

2,485.1

74.8

18.2

24.0

42.8

216.8

บ.ศิลาสากลพัฒนา

0.04

0.01

55.95

6.20

18.2

696.0

972

<0.1

5.0

16

865.1

85.6

12.4

12.6

23.2

<0.1

 ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลผลการวิจัยในแปลงของเกษตรกรบางรายที่ทำการเพิ่มผลผลิตโดยใช้หินฝุ่น

ชื่อ

ที่อยู่

พื้นที่ปลูก (ไร่)

การใช้ปุ๋ย

อัตราต่อไร่ (กก./ไร่)

อายุมันเมื่อตรวจ (เดือน)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่

(ตันต่อไร่)

% แป้ง

จำนวนเพิ่ม (ตันต่อไร่)

% ที่เพิ่ม

อำนวย งานแข็ง

ต. นิคมฯ

อ. พิมาย

7.00

 

7.00

มูลโค

10-15-30

มูลโค

10-15-30

หินฝุ่น

500

 

500

 

150

10

 

10

44.80

 

-

6.40

 

9.10

28.00

 

29.00

-

 

2.70

 

 

42.19

วิเชียร

กาญจนวัฒนาวงษ์

ต. สุรนารี

อ. เมือง

1.00

 

1.00

 

 

1.00

15-15-15

มูลไก่

มูลหมู

15-15-15

หินฝุ่น

มูลหมู

13-13-21

หินฝุ่น

50

300

50

300

100

300

50

100

12

 

12

 

 

12

3.00

 

4.80

 

 

9.67

3.00

 

4.80

 

 

9.67

25.00

 

26.00

 

 

27.00

 

 

1.80

 

 

6.67

 

 

60.00

 

 

222.33

 

 ตารางที่ 3  (ต่อ) แสดงข้อมูลผลการวิจัยในแปลงของเกษตรกรบางรายที่ทำการเพิ่มผลผลิตโดยใช้หินฝุ่น

ชื่อ

ที่อยู่

พื้นที่ปลูก (ไร่)

การใช้ปุ๋ย

อัตราต่อไร่ (กก./ไร่)

อายุมันเมื่อตรวจ (เดือน)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่

(ตันต่อไร่)

% แป้ง

จำนวนเพิ่ม (ตันต่อไร่)

% ที่เพิ่ม

ก่วง

จงเอื้อนกลาง

ต. ลำเพียก

อ. ครบุรี

14.50

21-0-0

0-0-60

มูลไก่

โพลีแอร์พลัส 4

 

14 กก.

21 กก.

300 กก.

12

45.00

3.10

25.50

-

-

7.00

21-0-0

0-0-60

มูลไก่

หินฝุ่น

14 กก.

21 กก.

300 กก.

200 กก.

11.5

41.98

6.00

31.00

2.89

93.24

สมบัติ

เบือนสันเที๊ยะ

ต. ลำเพียก

อ. ครบุรี

14.50

13-13-2

21-0-0

0-0-60

มูลไก่ 1

21 กก.

7 กก.

14 กก.

450 กก.

12

32.00

2.21

28.00

-

-

14.50

มูลไก่

21-0-0

0-0-60

13-13-21

หินฝุ่น

450 กก.

7 กก.

14 กก.

21 กก.

700 กก.

12

81.00

5.59

28.00

3.38

153.13

 ตารางที่ 3  (ต่อ) แสดงข้อมูลผลการวิจัยในแปลงของเกษตรกรบางรายที่ทำการเพิ่มผลผลิตโดยใช้หินฝุ่น

ชื่อ

ที่อยู่

พื้นที่ปลูก (ไร่)

การใช้ปุ๋ย

อัตราต่อไร่ (กก./ไร่)

อายุมันเมื่อตรวจ (เดือน)

ผลผลิตรวม (ตัน)

ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่

 (ตันต่อไร่)

% แป้ง

จำนวนเพิ่ม (ตันต่อไร่)

% ที่เพิ่ม

สุขุม

ขอยึดกลาง

ต. ด่านเกวียน อ. โชคชัย

24.75

13-13-21

25 กก.

12

49.50

2.00

28.00

-

-

24.75

13-13-21

หินฝุ่น

25 กก.

70 กก.

12.75

81.92

3.31

28.00

1.31

65.49

24.75

13-13-21

หินฝุ่น

25 กก.

70 กก.

14

132.48

5.35

30.00

3.35

167.64

หจก.

 สหชัยพิมาย

ต. รังกาใหญ่

อ. พิมาย

20.00

15-15-15

ฮอร์โมน

ปุ๋ยทางใบ

25 กก.

12

59.6

2.92

18.00

-

-

13.00

15-15-15

13-8-35

46-0-0

หินฝุ่น

27 กก.

20 กก.

3 กก.

133 กก.

12

87.10

6.70

26.00

3.71

124.68