แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย กับมหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา

ศูนย์บรรณสาร

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย กับมหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 14 – 21 ตุลาคม 2558

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท  สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน (รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย แสงอาทิตย์) รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์และชุมชน (อาจารย์ ดร.กัณทิมา ศิริจีระชัย) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎาพร  อุ่นศิวิไลย์) ผู้อำนวยการเทคโนธานี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย  อาจหาญ) อาจารย์ ดร.พรรษา  ลิบลับ หัวหน้าส่วนแผนงาน (นายศราวุธ ป้อมสินทรัพย์)  และผู้บริหารสำนักงบประมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักจัดทำงบประมาณด้านสังคม 1 (นายทวีศักดิ์  ชพานนท์) นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ (นางอมรรัตน์  ภูมิวสนะ) นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการ (นางเดือนรุ่ง  ไชยโก) ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา   ระหว่างวันที่ 14 – 21 ตุลาคม 2558

โดยวันแรกของการศึกษาดูงาน วันที่ 15 ตุลาคม 2558 ช่วงเวลา 09.00-10.00 น. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ University of Guelph ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือกับ มทส. ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 อนึ่ง มทส ได้ส่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และหัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร มาศึกษาดูงาน เมื่อ มทส. พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร นอกจากนี้ในเวลาต่อมายังมีการส่งอาจารย์มาทำงานวิจัยและศึกษาต่อที่ University of Guelph การศึกษาดูงานในวันที่ 15 ตุลาคม 2558 นี้ Dr. Charlotte Yates, Provost and Vice-President (Academic)  ได้กล่าวต้อนรับ ต่อจากนั้น Dr. Lynne Mitchell, Director and International Liaison Officer, Center for International Programs ได้แนะนำความเป็นมาของมหาวิทยาลัย มีการเปิดสอน 5 สาขาวิชา คือ 1) Arts 2) Biological Science 3) Business & Economics 4) Physical & Engineering Science และ 5) Social & Applied Human Science ซึ่งปีนี้ University of Guelph มีอายุครบ 50 ปี ในขณะที่ มทส. สถาปนาครบ 25 ปี และ นอกจากนี้ University of Guelph มีนักศึกษาแลกเปลี่ยนด้านสหกิจศึกษากับ มทส. โดยปฏิบัติงานที่ บริษัทซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากนั้น Dr. Charlotte Yates, Provost and Vice-President (Academic) ได้บรรยายเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางด้านงบประมาณ ซึ่งแบ่งงบประมาณรายจ่ายเป็น 3 ด้านคือ 1) ด้านการดำเนินงาน เน้นโปรแกรมและโครงสร้าง 2) ด้านรายจ่ายที่มีข้อกำหนด เน้นโครงการและรางวัลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ และ 3) ด้านการลงทุน เน้นการลงทุนในระยะยาว  

 

ต่อจากนั้น คณะได้เดินทางไป University of Waterloo ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในแคนาดาและมีความโดดเด่นด้านสหกิจศึกษา โดยส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษามากที่สุดในโลก มีนวัตกรรมจำนวนมากที่ถูกสร้างจากที่นี่ ทีมผู้บริหาร มทส. ได้รับการต้อนรับจาก Professor Feridun Hamdullahpur  President ของ  University of Waterloo หลังจากนั้น Bob Esselment, Senior Director of Government Relations และ Andrea Circuits, Manager, International Mobility & Global Learning ได้แนะนำมหาวิทยาลัย โดยคณะผู้บริหารของ University of Waterloo ได้ผลักดันมหาวิทยาลัยให้ก้าวขึ้นสู่การจัดอันดับ World University Ranking มีการผลักดันการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีองค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ที่มีความร่วมมือทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การวิจัย และการพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศแคนาดาในการพัฒนานักศึกษาและนักวิจัยให้เป็นผู้ประกอบการ มีการจัด ecosystem และระบบบ่มเพาะที่เหมาะสม และเน้นให้นักศึกษา คณาจารย์และนักวิจัยได้ผลิตนวัตกรรมและเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาและสามารถ spin off ไปเป็นผู้ประกอบการ มีการพัฒนา Enterprise Co-op ให้นักศึกษาที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการทดแทนการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือเลือกเข้าโครงการนี้ได้

ต่อมาในช่วงบ่ายได้ฟังการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งพัฒนาความร่วมมือด้านสหกิจศึกษากับ Kerry Mahoney, Director, Career Action & International Employment, CECA  ปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 19,000 คนต่อปีการศึกษาจากสาขาวิชามากกว่า 120 โปรแกรม เข้าร่วมสหกิจศึกษา มากกว่า 60 ประเทศ นักศึกษาจาก 3 คณะวิชาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 100% คือ 1) Software Engineering 2) Engineering และ 3) Computing & Financial Management และมีบริษัทเข้าร่วมสหกิจศึกษามากกว่า 5,200 บริษัท University of Waterloo การจัดระบบพัฒนาอาชีพโดยส่งนักศึกษาไปปฏิบัติตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 นักศึกษาไปปฏิบัติงานจำนวน 4 - 6 ครั้งต่อหลักสูตร โดยไปสลับกับภาคการศึกษา (course work) ทำให้ต้องจัดหางานคุณภาพให้แก่นักศึกษาเป็นจำนวนมากและจัดกิจกรรมสัมภาษณ์และจับคู่กันระหว่างนักศึกษาและสถานประกอบการตลอดเวลา ที่น่าสนใจคือการจัดระบบเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เช่น Prep Co-op และ มีการจัดหลักสูตร WatPD หรือ Professional development on workterm นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาไปปฏิบัติสหกิจศึกษาในต่างประเทศ 10 อันดับแรกคือ อเมริกา จีน ฮ่องกง  UAE ญี่ปุ่น เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อังกฤษ 



ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง