โปรดเกล้าฯ รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อดีตปลัดกระทรวงวิทย์ฯ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มทส.

โปรดเกล้าฯ รศ. ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ

อดีตปลัดกระทรวงวิทย์ฯ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มทส.

 

       สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2498 จังหวัดนครสวรรค์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (นิวเคลียร์ฟิสิกส์) จาก Kent State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มการทำงานในตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นบรรจุในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ต่อมา เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และ เกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้มีชีวประวัติโดยละเอียด ดังนี้

ประวัติการศึกษา

-    วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์)                                 พ.ศ. 2520               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-    วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์)                           พ.ศ. 2525               Kent  State  University ประเทศสหรัฐอเมริกา
-    วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์นิวเคลียร์)               พ.ศ. 2529               Kent  State  University  ประเทศสหรัฐอเมริกา
-    ปริญญาบัตรหลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 47                       พ.ศ. 2548               วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
-    ประกาศนียบัตร Director Certification Program        พ.ศ. 2553               สถาบัน Thai Institute of Directors
-    วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ฟิสิกส์)             พ.ศ. 2556               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานทางวิชาการ

-    บทความวิชาการ บทความวิจัย ตีพิมพ์วารสารต่างประเทศ จำนวน 30 เรื่อง
-    บทความรายงานการประชุมวิชาการต่างประเทศ จำนวน 23 เรื่อง
-    บทความรายงานการประชุมวิชาการในประเทศ จำนวน 21 เรื่อง
-    บทความวิชาการบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร จำนวน 12 เรื่อง

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต

-    ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                                           พ.ศ. 2555-2559
-    รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                                      พ.ศ. 2551-2555
-     รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)        พ.ศ. 2551-2552
-     ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ       พ.ศ. 2544-2551

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

     -    อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
     -    กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     -    กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     -    ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 
     -    ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
     -    ที่ปรึกษาคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
     -    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ                       

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ

-    ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก    (ท.ช.)          5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
-    ประถมาภรณ์มงกุฎไทย   (ป.ม.)         5 ธันวาคม พ.ศ. 2548
-    ประถมาภรณ์ช้างเผือก   (ป.ช.)          5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
-    มหาวชิรมงกุฎ              (ม.ว.ม)        5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
-    มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)       5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

 

ประสบการณ์ด้านบริหาร

- ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)
- ประธานกรรมการบริหารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2555 – 2559)
- ประธานฝ่ายไทย ASEAN Committee on Science & Technology (พ.ศ. 2553 – 2559)
- กรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2552 – 2559)
- กรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พ.ศ. 2553 – 2559)
- รองประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการและเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559)
- รองประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559)
- รองประธานกรรมการบริหารสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการบริหารสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2555-2559)
- กรรมการบริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (พ.ศ.2555-2559)
- นายกสมาคมฟิสิกส์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2552-2553)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร (พ.ศ.2552-2554)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2552-2556)
- ประธานคณะกรรมการ ASEAN-COST (ASEAN Committee on Science & Technology)     (พ.ศ.2553-2554)
- กรรมการบริหารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (พ.ศ.2553-2554)
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2553-2555)
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (พ.ศ.2554-2555)

 

          รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ เป็นผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและต่างประเทศ เป็นผู้มุ่งมั่น ผลักดันแนวคิดใหม่ๆ ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นเสาหลักด้านเศรษฐกิจของประเทศ แนวคิดการผลิตกำลังคนด้วยระบบ Talent Mobility คือ ให้ทุนการศึกษาของกระทรวงในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวทำงานในภาคการผลิต มีนโยบายเปิดประตูเพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์มาร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศโดยส่งเสริมให้มีนวัตกรรม มีการค้นคว้าและการวิจัย เพื่อเป็นฐานในการสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กับประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งด้วยตนเอง  

 

          นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ยังยึดหลักในการบริหารทั้งหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การบริหารการเงินที่สมดุล การพัฒนาองค์กรและการเรียนรู้ โดยมีความมุ่งมั่นจะนำพามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอันดับหนึ่งของประเทศ และอยู่ใน 200 อันดับแรกของเอเชีย (QS ASIA) และเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (Excellence Academic Institution in STI and Society Accountability) ด้วยยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Excellence) การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย (Research University) การสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  และนวัตกรรม (Society and Commercial-STI Impact ) การสร้างความผูกพันกับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North-Eastern Culture Engagement) และการบริหารงานที่นำสมัย เป็นธรรม และสร้างระบบนิเวศน์แห่งคุณภาพ (Smart Management, Good Governance and Quality Ecosystem)

 

 

 

 

 

 

                                                                                           ส่วนประชาสัมพันธ์ มทส.

 30 สิงหาคม 2560

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง